วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

อะไร-ยังไง-ทำไม? กับคำถามที่เราต้องการคำตอบ



อะไร-ยังไง-ทำไม? กับคำถามที่เราต้องการคำตอบ

บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าตั้งคำถามกันตนเองว่า สิ่งที่เราเห็นหรือสิ่งที่รู้ไม่ว่าจากประสบการณ์ก็ดีหรือจากรับมาของข้อมูลความรู้ต่างๆก็ดี ทุกสิ่งนั้นมีความจริงแท้เพียงใดอะไรหรือสิ่งใดเป็นสิ่งตัดสิน คำพูดที่ผู้เขียนยกขึ้นมานี้เป็นเพียงคำถามหรือข้อสงสัยโง่ๆที่ผู้เขียนได้คิดกับตนเองภายในเท่านั้น การหาคำตอบนี้ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในโลกแห่งผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ หรือบรรดาปราชญ์ต่างๆนั้นเอง

แต่ผู้เขียนเองก็มีได้มีความรอบรู้มากมายเพียงพอเพี่อที่จะหาคำตอบจากคำถามนั้นอย่างถ่องแท้ ทำได้แต่เพียงตั้งคำถามและ สงสัย กับบรรดาความรู้หรือวาทกรรมต่างๆที่เรายืดถือว่ามันจริงและถูกต้อง

การสงสัยดั่งกล่าวนี้นำพาไปสู่ดินแดนใหม่แห่งความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อิสระปราศจากข้อผูกมัดใดๆของอำนาจแห่งความรู้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปสามารถทำได้ แต่การที่จะกระทำได้นั้นต้องปราศจาก ความเชื่อ ในสิ่งนั้น ดังเช่นในโลกยุคก่อนก็มีความเชื่อที่ว่าโลกกลม หรือความเชื่อที่ว่าชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกาใต้และชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกานั้นไม่เคยเชื่อมติดกัน ความเชื่อต่างๆนี้ได้ถูกพังทลายลงไปสู่ความจริงที่ล้วนแต่ด้วยความสงสัยในสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งสิ้น การที่ใครสักคนกล้าที่จะสงสัยในสิ่งต่างเหล่านี้นั้นต้องปราศจากการเชื่อและการยึดมั่นของวาทกรรมที่เป็นอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน ฉนั้นและการสงสัยนี้เองก็นำพาเราไปสู่ความรู้ที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้ได้มาซึ่งวาทกรรมใหม่ที่ไม่รู้จบ

ดังที่ได้กล่าวมาการตั้งข้อสงสัยต่อสิ่งใดหรือชุดความรู้ใดๆต้องปราศจากความเชื่อและยึดติดกับสิ่งๆนั้น แต่ถ้าเรายังคงยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั้นเราก็ยังคงวนเวียนกับชุดของวาทกรรมนั้นๆสืบต่อกันมา ฉนั้นแล้วความเชื่อนี้เองนับเป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ที่จะนำพาไปสู่ความรู้ใหม่ๆ

ขอสงสัยต่างที่กล่าวมานี้นำพาไปสู่การสงสัยหรือการตั้งคำถามต่อสิ่งที่มีความเชื่อและแรงศรัทธาของฝูงชนเป็นหัวใจหลัก และยากที่จะหาข้อโต้แย้งทางทฤษฎีที่เป็นในทางจิตมายืนยัน สิ่งดังกล่าวนี้คือ ศาสนา (ในที่นี้ผู้เขียนจะยกพุทธศาสนามาเป็นกรณีศึกษาเพราะเป็นศาสนาที่ผู้เขียนเชื่อและศรัทธาอยู่) พุทธศาสนาถือกำเนิดมาเนินนานหลายพันปี ชุดข้อมูลความรู้ต่างก็ยังคงสืบต่อกันมาโดยไร้ข้องสงสัยหรือการตั้งคำถาม สิ่งที่เป็นอยู่ของพุทธศาสนาในขณะปัจจุบันนี้อาจเป็นสิ่งที่เป็นความเชื่อหรือคติที่สืบต่อกันมา

คำว่าคิตนี้ ในแวดวงของปัญญาชนปัจจุบันมีคำศัพท์ที่นิยมใช้กันเพื่อที่จะกล่าวถึงแบบอย่างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะทำให้มันเป็นจริงและเป็นไปอย่างธรรมชาติ คือคำว่า มายาคติ(myth) คำว่ามายาคตินี้ปรากฏในหนังสือ mythologies โดย Roland Barthes

Roland Barthes ได้ให้นิยามกับคำส่ามายาคติไว้ว่า

มายาคติ(myth) หมายถึงการสื่อความทางคติความเชื่อทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่า เป็นธรรมชาติหรืออาจกล่าวให้ถึงที่สุดได้ว่าเป็นกระบวนการของการทำให้หลงอย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่ามายาคติเป็นการโกหกหลอกลวงแบบปั้นน้ำเป็นตัวหรือการโฆษณาชานเชื่อที่บิดเบือนข้อเท็จจริง มายาคติมิได้ปิดอำพรางสิ่งใดทั้งสิ้น ทุกอย่างปรากฏต่อหน้าเราอย่างเปิดเผย แต่เราต่างหากที่คุ้นชินกับมันจนไม่ทันสังเกตว่ามันเป็นสิ่งประกอบสร้างขึ้นทางวัฒนธรรม...

สิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวมาว่าด้วยเรื่องการสงสัยและความเชื่อต่างๆทั้งหมดนี้ล้วนถูกเชื่อมโยงกับผลงานศิลปะที่มีสาระสำคัญหลักว่าด้วยเรื่องความเชื่อในทางพุทธศาสนาผลงานนี้เป็นผลงานของ ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท ในชุดผลงานชื่อ มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา ผลงานของ ศุภวัฒน์ ชุดนี้ได้มีพัฒนาและสานต่อจากผลงานความคิดในชุดแรกเริ่มว่าด้วยเรื่องปรัชญาที่แท้จริงของพุทธศาสนา ศุภวัฒน์ ได้ค้นคว้าและแสดงออกของ หลักคำสอนในพุทธศาสนาที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาเป็นภาษาภาพหรือผลงานศิลปะ ผลงานศิลปะดั่งกล่าวนี้มีความแตกต่างจากผลงานที่มีเนื้อหาของพุทธศาสนาแบบไทยประเพณีที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาอย่างสิ้นเชิง แต่เขานำเนื้อหาของพุทธมาผสมผสานกับการแสดงออกของศิลปะในกาลปัจจุบันโดยผลงานมีกลิ่นอายของความเป็นร่วมสมัยอยู่ในตัวไม่ว่าจะเป็นเทคนิค กระบวนการคิดที่สอดคล้องกับเทคนิค หรือวิธีการนำเสนอ ศุภวัฒน์ ได้สร้างเฟรมผ้าใบด้านหน้าปรากฏรูปของพระพุทธรูปที่ไร้สิ่งสีสันใดๆมีเพียงน้ำหนักอ่อนแก่ที่ดูแล้วสงบนิ่งหันหลังให้แก่ผู้ชมผลงาน แต่เมื่อผู้ชมเข้าไปใกล้ผลงานจากภาพเขียนพระพุทธที่สงบนิ่งธรรมดานั้นก็ปรากฏแสงออกมาจากด้านหลังพร้อมกับตัวอักษรที่เป็นคำสอนของพุทธศาสนาเรียงรายเต็มผืนผ้าใบ จุดสนใจของผลงานชิ้นนี้คือการที่ผู้ชมได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าถึงสาระสำคัญของชิ้นงาน เสมือนว่าผู้ชมก็สามารถเข้าถึงแก่นสาระของพุทธศาสนาได้ด้วยการกระทำของตน ดังเช่น คำกล่าวที่ว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ต้องกระทำมิใช้ศาสนาของการขอวิงวรเพื่อที่จะให้ได้มา(ว.วชิรเมธี)

สิ่งที่ ศุภวัฒน์ ต้องการที่จะสื่อนั้นกล่าวคือสิ่งที่ปรากฏตรงหน้านั้นอาจมิใช่สิ่งที่จริงแท้หรือเป็นสาระเสมอไปอาจเป็นเพียงแค่เปลือกของสาระที่ซ้อนอยู่ภายใน

เป็นสิ่งที่น่าสังเกตได้ว่า ศุภวัฒน์ ก็ยังคงมองคำว่ามายาคติเป็นสิ่งที่ฉาบหน้าพุทธศาสนาในที่นี้คือพิธีกรรมหรือวัตถุทางพุทธศาสนาเท่านั้น แต่สิ่งที่ยังเป็นหัวใจหลักของพุทธศาสนาหรือคำสอนต่างๆก็มิได้ไปแตะต้องเลยโดยยังคงมีความเชื่อว่าวาทกรรมนี้เป็นสิ่งที่จริงแท้และสมบรูณ์ที่สุด กระบวนการคิดนี้แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่จริงของวาทกรรมหลักเป็นศูนย์กลาง ทรงพลังและยิ่งใหญ่และยากที่จะตั้งคำถามหรือมีข้อสงสัย วาทกรรมที่เป็นศูนย์กลางทางความคิดนี้แสดงถึงการดำรงอยู่ของผู้ประพันธ์ (the author) ซึ่งได้แยกตัวจากระบบภาษาและผู้รับสาร แต่สิ่งที่เป็นสาระของพุทธศาสนานั้นคือสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในชุดข้อมูลความรู้ที่มีการถ่ายทอดในระบบภาษาหรือเรียกว่า พระไตรปิฏก ที่ได้มาจากการกระทำปฏิบัติจริงของผู้ประพันธ์หรือพระพุทธเจ้า ความจริงสิ่งที่มีอยู่นี้คือภาษาที่เป็นวาทกรรมสืบทอดกันมาโดยคติหรือความเชื่อและความเชื่อในเรื่องของการมีอยู่จริงของผู้ประพันธ์ที่ถูกปรุงแต่งให้มีความจริงแท้มีบทสรุปที่แน่นอนมีแบบแผนชัดเจนเพื่อที่จะไปสู่ปลายทางคือนิพพาน

คำว่ามายาคตินี้จึงมีความน่าสนใจเมื่อถูกจับและเอาเข้ามาเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา ที่ว่าการนำคำนี้มาเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงเรื่องความเป็นไปของพุทธศาสนาในตอนนี้ที่ถูกฉาบไปด้วยความเชื่อที่ลวงความจริงเอาไว้เสมือนการสร้างความชอบธรรมให้แก่พุทธศาสนาที่เป็นแก่นแกนสาระที่แท้จริงว่าความจริงที่สมบรูณ์สูงสุดมันมีอยู่จริงแต่ถูกมายาต่างๆบดบังอยู่

เมื่อการมีอยู่จริงของผู้ประพันธ์(the author) เกิดมาพร้อมกับความเชื่อนั้นก็ยากที่เราจะพยายามเข้าไปศึกษาถึงโครงสร้างความรู้ต่างๆถูกวางไว้อย่างเป็นระเบียบ แต่ในความเป็นจริงโครงสร้างทางความรู้ต่างมันต้องมีการผันแปร เคลื่อนไหวไปตามบริบทของเวลาและสถานการณ์ ฉนั้นแล้วการเข้าไปศึกษาหรือการนำคำว่ามายาคติเข้าไปศึกษากับพุทธศาสนานั้นผู้กระทำการดังกล่าวต้องมีความกล้าที่จะเข้าไปศึกษาถึงรากของพุทธศาสนา เพื่อที่จะได้บทสรุปว่ามายาคตินั้นเริ่มขึ้นจากจุดไหนอย่างแท้จริง รูปแบบการตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆนี้อาจเริ่มต้นด้วยความคิดที่ว่าต่อต้านรากฐาน(Antifoundational)เพื่อที่จะเข้าไปศึกษาและหาจุดเริ่มต้นของปัญหา

จากคำกล่าวที่ปรากฏในหนังสือ Postmodernism and Philosophy โดย Stuart Sim ได้ให้คำอธิบายคำว่า Antifoundational ดังนี้

Antifoundationalism (การต่อต้านรากฐาน) ศัพท์เทคนิคเพื่ออธิบายสไตล์ของปรัชญานี้คือ antifoundational(การต่อต้านรากฐาน) บรรดานัก Antifoundationalists จะถกเถียงถึงความมีเหตุผลหรือความสมบูรณ์เกี่ยวกับรากฐานต่างๆของคำอธิบาย(discourse-วาทกรรม) โดยจะตั้งคำถามเช่น "อะไรที่มารับประกันความจริงรากฐานของคุณ (นั่นคือ จุดเริ่มต้น) ? ”

ทั้งนี้การต่อต้านที่ผู้เขียนได้กล่าวมานี้มิใช้การปฏิเสธอย่างไม่ลืมหูลืมตาแบบที่ไม่ได้มองถึงสาระความรู้ของรากฐานที่เราเข้าไปศึกษา กระบวนการด้งกล่าวนี้เป็นกระบวนการของ จุดเริ่มต้นที่จะเข้าไปทบทวน หรือตรวจสอบวาทกรรมต่างๆที่มีความมั่นคงและเป็นศูนย์กลางอย่างพุทธศาสนา

ดังเช่นที่ได้กล่าวมา เป็นการยากที่จะเข้าไปต้องข้อสงสัยกับความรู้ของพุทธศาสนาที่มีกำแพงของความเชื่อเข้ามากั้นกล่าวนี้ปรากฏให้เห็นในผลงานศิลปะของ ศุภวัฒน์ ที่ยังปรากฏกำแพงของความเชื่อในเรื่องความจริงหรือความสมบรูณ์ในเรื่องของความรู้รากฐานนั้นๆ โดยในผลงานก็ยังปรากฏให้เห็นถึงการหยุดยั่งการวิพากษ์อยู่ที่คำว่ามายาคติ ที่เข้าไปตรวจสอบแค่ผิวนอกปราศจากการลงลึกถึงแก่นแกน การแสองออกมาเป็นผลงานศิลปะของ ศุภวัฒน์ นั้นจึงดูประนีประนอมซึ่งไม่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่หยิบยกขึ้นมานำเสนอคือคำว่ามายาคติ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และท้าทายความคิดเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดี่ยวกัน ศุภวัฒน์ ก็มีความกล้าที่จะนำสิ่งที่ค่อนข้างไปด้วยกันไม่ได้มานำเสนอผ่านผลงานศิลปะ

ผลงานศิลปะของ ศุภวัฒน์ เป็นรูปแบบจิตกรรม2มิติที่มีการผสมผสานเทคนิคอย่างน่าสนใจ และสิ่งที่ยังเป็นจุดสนใจที่สุดคือการนำผู้ชมมาเป็นส่วนหนึ่งของความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานของ ศุภวัฒน์ จึงไม่ตายในโลกของศิลปะหรือภายในห้องแสดงผลงาน ด้วยเทคนิคและ กุศโลบาย นี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดการตั้งคำถามหรือข้อสงสัยของผู้ชมผลงานเองก็ได้ ผลงานศิลปะในยุคสมัยนี้ (ผู้เขียนขอใช้คำเรียกยุคสมัยนี้ว่ายุคหลังความเป็นไปได้ใหม่ทางศิลปะ....) ไม่จำเป็นต้องเป็นระเบียบแบบแผน มีความสมบรูณ์แน่นอนสะอาดหมดจดในตัว หรือเป็นเพียงแค่สำแดงกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งทางศิลปะโดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้คิดไตร่ตรองและเข้าไปตัดสินกับผลงานนั้นๆอย่างมีเสรีภาพของการชมผลงานศิลปะ

ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนขออณุญาติตั้งข้อสงสัยหรือคำถามต่อผลงานของศุภวัฒน์ชิ้นนี้ว่า พระพุทธรูปที่ข้าพเจ้าเห็นนั้นหันหลังให้อะไรแล้วกำลังมองอะไรอยู่ ?

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

19 03 10 : TH

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

การโกหกที่หมดเปลือกของ วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร


การโกหกที่หมดเปลือกของ วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร

ทุกวันนี้เรามองไปรอบๆเราผ่านตัวตนของเราผ่านสังคมตามที่ตาเห็นทุกสิ่ง

ล้วนถูกสร้างถูกพยายามทำให้มีภาพลักษณ์ที่สมบรูณ์สวยงามซึ่งเราเองก็พร้อมที่จะสามารถรับรู้ได้ว่ามัน จริงและ ดี แต่ว่าการรับสารต่างๆที่ปรากฏนั้นเป็นการรับสารที่เปราะบางและฉาบฉวย การรับสิ่งต่างๆโดยที่เรามิได้เข้าไปสัมผัสถึงแก่นแกนของความคิดหรือหยุดอยู่เพียงภาพลักษณ์ที่สวยงามที่ปรากฏตรงหน้านั้นเราก็จะพบแต่เพียงความ จริง และ ดี ที่แผ่วเบา

ในทางศิลปะก็เช่นกันการสร้างภาพลักษณ์ที่สวยและงดงามมักจะพบเห็นได้ทั่วๆไปในวงการศิลปะ แต่ปัจจุบันวงการศิลปะนั้นก็ได้แตกแขนงออกมาเป็นศิลปะที่เป็นร่วมสมัย มีความสลับซับซ่อนทางความคิดและการแสดงออก จึงอาจจะอยากต่อการเข้าถึงและเข้าใจจนอาจมีคำพูดที่ว่า ดูอยาก ถึงแต่อย่างปัญหาที่เป็นอุปศักย์ของผู้รับรู้หรือผู้ชมผลงานก็มิได้ทำให้ศิลปินลดละความพยายามที่จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยต่อไป อย่างไรก็ดีผลงานศิลปะในสายตาของผู้ชมทั่วไปแล้วการรับรู้แรกนั้นคือ ความงาม

ความงามนั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งความงามของการแสดงออกที่เป็นรูปธรรม หรือความงามที่เป็นนามธรรมคือทางด้านความคิด ความงามนั้นสามารถดึงดูดผู้ชมให้หยุดหรือจดจ่อกับผลงานศิลปะ ซึ่งส่งผลดีกับตัวผลงานศิลปะและศิลปิน แต่ถึงอย่างไรก็ดีความงามต่างๆเหล่านั้นอาจฆ่าผลงานศิลปะบางชึ้นได้คือ การรับรู้ของผู้ชมผลงานหยุดอยู่แค่ภาพลักษณ์ที่ฉาบหน้าผลงานมิอาจเข้าไปถึงเจตนาหรือความคิดหลักของศิลปินที่ได้คิดที่ได้พยายามถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม ความงามตามที่ได้กล่าวมานั้นอาจเป็นได้ทั้งตัวผลงานหรือตัวพื้นที่ทางศิลปะ

ความงามที่ผิดที่ผิดทางดังกล่าวปรากฏให้เห็นใน นิทรรศการ Wantanocchiodot ‘ 09 โดย วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ซึ่งมีพื้นที่จัดแสดงคือ ardel gallery of modern art โดยในที่นี้ผลงานได้จัดแสดงในพื้นที่ใหม่ข้างๆพื้นที่เดิมซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่สวยงามด้วยการออกแบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งที่งดงามทันสมัยราวกับมิใช้สถานที่แสดงงานศิลปะ ความงามที่ผิดที่ผิดทางดังกล่าวเริ่มปรากฏตั้งแต่เดินเข้ามาในพื้นที่ของ gallery ซึ่งเป็นอาคารรูปทรงเหลี่ยมที่ดู modern สีเทาด้านหน้าปูหญ้าเทียมสีเขียวสด โดยรอบพื้นที่ประดับประดาไปด้วยต้นไม้ น้อยใหญ่มากมาย ส่วนฝังพื้นที่ใหม่มีสระน้ำขนาดกลางสีฟ้าสดใสอยู่หน้าพื้นที่ห้องแสดงผลงาน สวยจริงๆ ความสวยที่ได้พรรณนามาเหล่านี้ได้ถูกกลืนทับเจตจำนงของพื้นที่แสดงผลงานศิลปะ ความเป็นกลางของพื้นที่ที่แท้จริงได้ขาดหายไป

เมื่อเราเข้าไปในห้องแสดงผลงานโดยผ่านสิ่งที่สวยงามต่างภายนอกมาแล้ว ความรู้สึกแรกเมื่อได้ชมผลงาน Wantanocchiodot ‘ 09 คือ สวย และสมบรูณ์แบบทั้งการติดตั้งและตัวผลงาน ทุกอย่างเนียบเป็นระเบียบ ดังเส้นตั้งและเส้นนอน เหมื่อนทุกอย่างได้จบและปิดฉากการสนทนากับผู้ชมไปเรียบร้อยแล้ว แต่ในกายภาพของผลงานรายละเอียดในส่วนประกอบต่างๆได้มีการเปิดรอรับการสนทนาจากผู้ที่เข้ามาชม ไม่ว่าจะเป็น กลไกลของหุ่นจำลองศิลปิน กล้องวงจรปิดที่มีการถ่ายถอดสดในห้องแสดงผลงาน และกรอบรูปที่แขวนอยู่ตามผนังห้อง ทุกอย่างล้วนรอการโต้ตอบจากผู้ที่เข้ามาชมผลงาน แต่ความสวยและความเนียบต่างๆที่ปรากฏได้ทำให้ลดทอนการโต้ตอบต่างๆลงและยังไม่สามารถเข้าถึงแก่นความคิดของผลงานศิลปะชิ้นนี้ได้

ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากตัวพื้นที่และมโนทัศน์ของพื้นที่ที่ยังข่มตัวผลงานศิลปะ มโนทัศน์ของพื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่ที่สมบรูณ์และสวยงามผลงานที่เคยผ่านการจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นผลงานที่สวยและจบสมบรูณ์ในตัวผลงาน จนอาจกลายมาเป็นภาพจำของตัวพื้นที่ ดังนั้นอาจส่งผลต่อผลงานศิลปะของวันทนีย์ ที่อาจยังไม่ต้องการที่จะจบและสมบรูณ์ในตัวผลงาน

ความสวยและสมบรูณ์ดังกล่าวได้สร้างปัญหาต่อการรับรู้ที่แท้จริงของผลงาน ความคิดต่างๆที่วันทนีย์ ต้องการนำเสนอผ่านการสร้างเรื่องราวที่เป็นจริง ไม่จริง หรือกึ่งจริงกึ่งไม่จริงต่างๆนั้นได้หยุดนิ่งและแสดงออกมาเพียงแค่สิ่งเดียวคือ จริง ความจริงในสิ่งที่เห็นหยุดนิ่ง แข้งกระด้าง เป็นรูปธรรม ลูกล้อลูกชนของกระบวนการคิดได้ขาดหายไปแต่การขาดหายไปนี้มิใช่ไม่มีอยู่ในผลงานแต่ได้ถูกส่วนอื่นบดบัง ถ้าได้ติดตามผลงานของวันทนีย์ ที่ผ่านมาแล้วจะสังเกตได้ว่าวันทนีย์นั้นมีความสดและความมันส์ในตัวผลงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับร่างกายและพื้นที่สาธารณะ หรือการโกหกหรือหลอกลวงของวงการศิลปะร่วมสมัย ซึ่งในครั้งนั้นได้สร้างการโต้ตอบหรือบทสนทนามากมายของผู้ที่เข้ามาชมผลงาน ผลงานต่างๆที่ได้กล่าวมานี้ล้วนมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและพื้นที่ทั้งสิ้น แต่ในครั้งนี้ กลับกลายเป็นการตัดขาดจากสิ่งรอบตัวและยังปล่อยให้พื้นที่แสดงออกหรือทำงานมากกว่าตัวผลงานศิลปะ การตัดขาดดังกล่าวส่งผลถึงรายละเอียดส่วนประกอบในงานศิลปะของวันทนีย์ ส่วนประกอบที่ต้องการที่จะสื่อถึงการนำวัฒนธรรมไทยมาเร่ขายในงานศิลปะร่วมสมัย ความไม่ชัดเจนของการแสดงออกนี้ทำให้การวิพากย์ไม่สามารถเข้าไปถึงจุดของผลงานได้เช่นกัน การวิพากษ์นี้จึงเป็นเพียงแค่การกล่าวถึงภาพร่วมของนิทรรศการ บทสนทนาจึงถูกจำกัดและไปไม่ถึงตัวความคิด เพราะผลงานถูกฉาบไปด้วยความงาม ความสมบรูณ์และความจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีความคิดที่สลับซับซ่อนอยากต่อการรับรู้อย่างแท้จริง สิ่งที่ได้จากการชมผลงานครั้งนี้อาจได้แค่เพียงผลงานศิลปะที่เป็นรูปธรรมที่เป็นจริง สวย และ ดี

24 hrs art criticism

07 11 09

เกี่ยวกับฉัน