วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การให้ที่แท้จริงของศิลปะในนิยามของ “สุวิชชา ดุษฎีวนิช“

การให้ที่แท้จริงของศิลปะในนิยามของ สุวิชชา ดุษฎีวนิช

เมื่อกล่าวถึงคำว่าศิลปะสิ่งที่นึกถึงหรือภาพที่ปรากฏในใจคือสิ่งที่สวยงามหรือเป็นผลงานที่สะท้อนเรื่องราวต่างๆที่
สามารถรับรู้หรือจับต้องได้ในทางกายภาพโดยปรากฏในรูปของวัตถุซึ่งถ้าวัตถุเหล่านั้นได้เข้าไปอยู่ภายใต้หอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ก
็จะดูเหมือนเน้นย้ำความเป็นศิลปะมากยิ่งขึ้นโดยศิลปะอาจมีเนื้อหาหรือเรื่องราวที่สะท้อนถึงบริบทต่างๆของสังคมหรือ
แสดงความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคลแตกต่างออกไป

เมื่อศิลปะได้เข้ามาอยู่ในหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์แล้วศิลปะก็ย่อมเป็นผู้ส่งสารโดยสมบรูณ์แบบที่ศิลปินมอบให้แก่ผู้ชมหรือสังคม สารต่างๆเหล่านี่ที่ศิลปินได้ส่งมอบให้เก่ผู้ชมโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางหรือในที่นี้ผู้เขียนขอใช้คำว่าเครื่องมือ เครื่องมือดังกล่าวนี้จะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์หรือประเด็นต่างๆของศิลปินสู่ผู้ชม ในเมื่อศิลปะนั้นมีภาพลักษณ์เป็นผู้ให้ ก็ย่อมมีอีกมุมที่ผู้ชมกลายเป็นผู้รับเช่นกัน

จากประเด็นที่ศิลปะเป็นผู้ให้นั้น อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่าศิลปะนั้นได้ให้อะไรอย่างแท้จริง หรือเป็นเพียงการให้แบบคลุมเครือต้องอาศัยการตีความหรือต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะเพียงพอถึงรับรู้และเป็นผู้รับสารดังกล่าวได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็เป็นการให้ที่ไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เมื่อศิลปะได้กลายเป็นผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้แบบความรู้ ข้อมูลในเชิงความคิดหรือเป็นการให้ในทางกายภาพจับต้องได้ ซึ่งอาจเป็นไปในรูปแบบที่ซื่อขายโดยการครอบครองของผู้ซื่อ
แต่ถ้าศิลปะเหล่านั้นตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะต้องการให้อย่างแท้จริงโดยการให้นี้ได้ตกไปอยู่ในกระบวนการคิดตั้งแต่เริ่มแรกของผลงาน
ศิลปะซึ่งศิลปะนั้นได้เป็นแค่
เครื่องมือในการส่งผ่านกระบวนการคิดของศิลปินซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจึงเป็นหลักฐานของการตกตะกอน
ทางความคิดในรูปของวัตถุ ผลงานศิลปะแห่งการให้ที่ได้กล่าวมานี้เป็นผลงานของ สุวิชชา ดุษฎีวนิช ในครั้งนี้ สุวิชชา ได้นำเสนอผลงานศิลปะที่ไม่หลงเหลือวัตถุหรือรูปรสทางศิลปะมีเพียงแต่กลิ่นอายทางความคิดซึ่งสามารถเข้าไปกระตุ้นผู้ชมที่
ี่เข้ามาในหอศิลป์ให้เกิดคำถามมากมายว่า
ไหนละศิลปะ?”

ทั้งนี้เพราะ สุวิชชา ไม่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่พิสดารหรือทำให้ดูยิ่งใหญ่เหมือนที่เคยปรากฏในหอศิลป์ แต่เขาได้สร้างปรากฏการณ์ที่ท้าทายต่อนิยามของคำว่าคำว่าศิลปะ สุวิชชา ได้สร้างผนังหรือกำแพงของหอศิลป์ขึ้นมาใหม่ด้วยความประณีตและบรรจงและเต็มไปด้วยเสน่ห์ของกระบวนการของงานไม้ ที่แฝงไปด้วยปรัชญาแห่งในการสร้างและสามารถตอบสนองชีวิตของเขาได้เป็นอย่างดี ปรัชญาที่ว่านี้เกิดขึ้นโดยการกระทำโดยตรงของสมองสู่มือและส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งวัตถุนั้นคือแผ่นไม้ที่นำมาประกอบกันเป็นผนังที่เนียนเรียบและสะอาดตาภายใต้สภาพแวดล้อมของหอศิลป์

ภายใต้บริบทของหอศิลป์หน้าที่และความหมายของตัวมันเองคือสถานที่หรือที่อยู่ของผลงานศิลปะโดยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นกลาง ทั้งนี้ สุวิชชา มิได้สร้างอะไรที่เข้าไปแทนที่ของที่ว่างภายในหอศิลป์ แต่ สุวิชชา กลับเน้นย้ำให้ตัวพื้นที่มีความชัดเจนและสามารถตอบสนองบริบทของหอศิลป์ให้มากยิ่งขึ้นโดยการสร้างผนังสีขาว ผนังสีขาวนั้นอาจเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงของยุคศิลปะในประเทศไทยโดยการรับเข้ามาจากตะวันตก เนื่องด้วยกระแสความคิดที่ว่าผลงานศิลปะนั้นเป็นเอกเทศและต้องสมบรูณ์ที่สุดโดยปราศจากสิ่งรบกวนรอบข้าง ด้วยเหตุนี้พื้นที่แสดงผลงานศิลปะจึงเป็นพื้นที่ที่เป็นกลาง ผนังรอบด้านสีขาวเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนในการชมผลงานศิลปะ

การเน้นย้ำของ สุวิชชา ดังกล่าวนั้นเป็นการตอบสนองว่าด้วยเรื่องยุคสมัยและเป็นการตั้งคำถามของคำว่าศิลปะที่ท้าทายต่อยุคสมัยเช่นกัน การตอบสนองนั้นคือการกระทำที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของผลงานศิลปะที่เข้ามาอยู่ภายในหอศิลป์ โดยการสร้างการรับรู้อันดีระหว่างผลงานศิลปะและผู้ชม ซึ่งเกิดการราบรื่นไม่ติดขัด การรับรู้หยุดและจดจ้องไปที่ตัวผลงานปราศจากสิ่งรบกวนภายใต้ผนังห้องสีขาว ซึ่งในขณะเดียวกันการกระทำที่เขาพยายามสร้างในสิ่งที่ตัวศิลปินเองเรียกว่าศิลปะที่มีกายภายไม่แตกต่างไปจากผนังห้องทั่วๆไป ผนังห้องที่ว่านั้นแฝงไปด้วยคำถามต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับนิยามคำว่าศิลปะ ศิลปะนั้นคืออะไรคำถามนี้อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าไปชมผลงานศิลปะของ สุวิชชา ถ้าศิลปะได้มีการพัฒนาจนสลายรูปโดยไม่หลงเหลือกายภาพทางศิลปะมีเพียงแต่ความคิดที่พัฒนาจนตกตะกอน ความคิดต่างๆเหล่านั้นจะสามารถนำมาสร้างให้เป็นประโยชน์ในโลกของความจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการสร้างสรรค์ที่ผ่านมาและก็ผ่านไป

จากคำถามที่เกิดขึ้นภายในห้องสี่เหลียมสีขาวว่า ไหนละศิลปะ?” คำถามนี้ได้ตกไปอยู่ในกระบวนการคิดของผลงานศิลปะชุดนี้ ซึ่งคำถามนี้ก็อาจเป็นคำตอบของผลงานศิลปะชุดนี้ในท้ายที่สุดเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีคำตอบดังกล่าวนี้ก็มิใช่เป็นคำตอบเดียวของผลงานศิลปะของสุวิชชาซึ่งในท้ายที่สุดผลงานศิลปะเชิงความคิดชุดนี้ก็
ได้สร้างหลักฐานที่สำคัญออกมาเป็นรูปของวัตถุที่สามารถใช้งานและคงอยู่ในพื้นที่ที่เกี่ยวโยงหรือสัมพันธ์กับศิลปะโดยมิได้มีการ
แยกตัวออกจากกับหลังจบนิทรรศการ
จากคำถามที่ปรากฏในตอนแรกที่ว่าไหนละศิลปะ?”จึงทำให้เกิดกระบวนการคิดมากมาย
ต่อคำว่าศิลปะซึ่งคำตอบที่ได้ออกมานั้นอาจไม่ปรากฏในรูปลักษณ์ของผลงานศิลปะแต่ประการใดแต่ทั้งหมดนี้คือการให้ที่แท้จริง
ของศิลปะ

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

21 05 51

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

“Wall saw” วัตถุที่บ่งบอกถึงชีวิตที่ผูกโยงกับศิลปะ


“Wall saw” วัตถุที่บ่งบอกถึงชีวิตที่ผูกโยงกับศิลปะ

เมื่อศิลปะได้ถูกพัฒนาข้ามพ้นขีดจำกัดของคำว่าศิลปะ ศิลปะอาจเป็นไปในรูปแบบของสิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วยความจงใจซึ่งมีการประกอบ
ขึ้นจาก
Form กับ space ตามทัศนคติหรือประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ หรือศิลปะอาจเป็นสิ่งที่คุ้นชินธรรมดาสามัญไม่ผิดแปลกแตกต่างไปจากสิ่งที่พบ
เห็นกันโดยทั่วไป

ในเมื่อศิลปะมีความหลากหลายในการแสดงออกจึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า เส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่เรียกตนเองว่าศิลปะกับสิ่งที่ไม่ใช่ศิลปะซึ่งเป็นเพียงแค่วัตถุ
ธรรมดาสามัญนั้นมีอยู่ ณ จุดใด แล้วคำถามนั้นก็ยังคงวนเวียนและถูกซ่อนตัว
ด้วยการฉาบหน้าของคำว่าศิลปะที่ศิลปินได้หยิบยื่นให้แก่ผู้ชม
ในขณะเดียวกันก็มีคนทำงานศิลปะที่เฝ้ามองประเด็นนี้อยู่เช่นกันในที่นี้
สุวิชชา ดุษฎีวนิช ศิลปินที่คงยังทำงานศิลปะให้กลับกลายเป็นชีวิตไม่ว่าจะเป็นของ
ผู้อื่นหรือของตนเองโดยในตำแหน่งหรือหน้าที่การงานคือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน
เทคนิคทางศิลปะของคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร และรับผลิตผลงานศิลปะให้แก่ศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งเขาก็ยังคงทำงานศิลปะของตนเองควบคู่ไปเช่นกัน

ในการทำงานศิลปะของสุวิชชาเองนั้นเขาไม่ได้สร้างสิ่งอื่นที่ทำให้แปลกแยก
หรือแปลกปลอมไปจากชีวิตแต่ประการใด แต่เขากลับนำศิลปะมาเป็นส่วน
หนึ่งของชีวิตและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
โดยกระบวนการที่มีสาระทางศิลปะ
ได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถปรากฏให้เห็นในผลงาน
“Wall saw”โดยผลงานนั้นเขาได้สร้างเลื่อยที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นเลื่อยที่สามารถ
ใช้งานได้จริงในการทำงานไม้ เลื่อยที่เป็นผลงานศิลปะในที่นี้มีรูปร่างหน้า
ตาไม่ผิดหรือแตกต่างไปจากเลื่อยที่สามารถพบเห็นทั่วไปตามโรงงานอุตสาหกรรม
และสามารถใช้ได้จริง กายภาพของผลงานจึงไม่มีอะไรแตกต่างไป
จากของจริงที่มีการใช้งานกันอยู่แต่สิ่งที่สามารถแยกแยะระหว่างวัตถุที่ใช้งานจริง
ทั่วๆไปกับวัตถุที่สามารถใช้งานได้จริงเช่นกันแต่สามารถส่งมอบสารที่มีสาระ
ทางศิลปะสู่ผู้ชมหรือผู้ที่เข้าไปกระทำใช้งานกับมันนั้นคือภาพสะท้อนของผู้สร้าง
ที่มีภาพลักษณ์์และวิถีชีวิตสอดคล้องกับวัตถุ

ความสอดคล้องที่ว่านี้สืบเนื่องมาจากหน้าที่การงานที่มีการคลุกคลีกับเครื่อง
ไม้เครื่องมือต่างๆที่สร้างงานศิลปะทั้งให้แก่ตนเองและผู้อื่นและสิ่งที่น่าสนใจคือศิลปะ
ที่เป็นเครื่องมือชิ้นนี้มีชีวิตขึ้นจริงซึ่งอาจแตกต่างจากผลงาน
ศิลปะทั่วๆไป โดยทั่วไปนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการแสดงผลงานศิลปะ
ศิลปะก็อาจจบหน้าที่ของมันลงหลงเหลือเพียงแต่ภาพความ
ทรงจำหรือหลักฐานทางเอกสาร(สูจิบัตร) แต่ผลงาน
“Wall saw” ชิ้นนี้เมื่อขณะที่แสดงผลงาน ผลงานจะเป็นเพียงวัตถุที่สะท้อนถึงผู้สร้างเท่านั้น แต่หลังจากจบการแสดงผลงานสาระวัตถุชิ้นนั้นได้มีการเริ่มต้นและ
มีชีวิตขึ้นโดยการนำไปใช้งานจริงเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้แก่ตนเองและ
ศิลปินผู้อื่นอีกต่อไป
ซึ่งเป็นการต่อยอดและขยายความความเป็นศิลปะ
ให้ศิลปะมีความชัดเจนแน่ชัดในตัวเองมากขึ้นโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการสร้าง
ที่มีกลิ่นอายและสาระทางศิลปะ ผลงาน
“Wall saw” จะไม่เป็นเพียงวัตถุทางศิลปะที่หยุดนิ่งเกิดและตายไปตามนิทรรศการศิลปะ แต่กลับมีชีวิตและสร้างประโยชน์ต่อไปการนำกลับมาใช้งานจริงนี้นับเป็นการ
เน้นย้ำในคำที่ว่าศิลปะนั้นคืออะไร มีประโยชน์ที่แท้จริงหรือไม่ การท้าทายดังกล่าวนี้เป็นไปโดยการสร้างสิ่งที่เรียกว่าศิลปะที่ธรรมดาสามัญ
จากชีวิตและความรู้สึกของผู้สร้างอย่างแท้จริงนับเป็นการสร้างปรากฏการณ์
ทางศิลปะที่แสนธรรมดาแต่เต็มไปด้วยสัจจะของชีวิตอย่างแท้จริง

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าความเป็นศิลปะยังคงอยู่ต่อหรือ
ไม่หลังจากนำผลงานออกจากห้องนิทรรศการสู่พื้นที่การใช้งานจริงคำถามนี้
ได้ส่งผลกระทบต่อนิยามของคำว่าศิลปะของผู้เขียน
โดยผู้เขียนได้ตั้งคำถามกลับไปยังศิลปะว่า ศิลปะได้ให้อะไรกับผู้ชมหรือ
สังคมอย่างแท้จริง และผู้ชมจะต้องการอะไรจากศิลปะ แต่สิ่งที่ทราบแน่ชัดคือ ผลงาน
“Wall saw” ดังกล่าวนั้นมิได้ให้อะไรแก่ผู้ชมภายใต้ห้อง
นิทรรศการมีเพียงแต่การรับรู้ถึง
Form กับ space ที่ปรากฏในรูปวัตถุและยังปรากฏคำถามต่างๆมากมายสู่ผู้ชมไม่ต่างอะไรกับ
ผลงานชิ้นอื่นๆ แต่นั้นมิใช่เป็นสาระสำคัญของผลงานศิลปะชิ้นนี้มากเท่าใดนัก สาระจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีผู้ที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์อย่างแท้จริงกับวัตถุภายหลังแสดง
ผลงานโดยการมีปฏิสัมพันธ์นั้นจะสร้างให้เกิดสิ่งใหม่โดยเริ่มจากการตัดหรือ
ทำลายแล้วนำมาประกอบขึ้นจนเกิดสิ่งใหม่สิ่งใหม่ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้น
ด้วยเครื่องมือทางศิลปะ โดยการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง ซึ่งสาระความงามและสิ่งต่างๆจะเกิดภายในของแต่ละบุคคลโดยผ่านกระทำ

ผลงาน“Wall saw” ได้เน้นย้ำและสร้างสถานะเป็นผู้ให้อย่างแท

้จริงโดยเริ่มตั้งแต่การให้ตนเองการให้ตนเองในที่นี้เริ่มตั้งแต่ให้ความสัตย์จริง
ระหว่างตนเองกับวัตถุที่กระทำ โดยเกิดความแม่นยำและเที่ยงตรงนี้ ความแม่นยำและเที่ยงตรงนี้ได้นำสติ สมาธิ มาสู่สิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าและยัง
สามารถฝังลึกไปยังจริตของชีวิตในเวลาเดียวกัน

ความท้าทายที่ปราศจากการกระทำที่ก้าวร้าวนี้เป็นการนำ
คำว่าศิลปะกลับมาคิดทบทวนหรือไตร่ตรองให้เกิดกระบวนการที่แท้จริงของ
ผลงานศิลปะ กระบวนการทางศิลปะที่ว่านี้มิใช้เพียงกระบวนการใน
การสร้างขึ้นชั่วขณะเพียงเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการในการนำศิลปะ
ต่างๆเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ เพื่อให้เกิดความสัตย์จริงในตัวผลงานและ
ตัวศิลปินผู้สร้างสรรค์ต่อไป

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

9 05 51




วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การกลับไปกลับมาของ “นาข้าว” จากเยอรมันสู่ไทย

การกลับไปกลับมาของ นาข้าวจากเยอรมันสู่ไทย

เมื่อระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน 2550 ได้มีนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ณ. เมืองแคสเซิล ประเทศเยอรมัน ภายใต้ชื่อที่ว่า DOCUMENTA ON .12 นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่มีศิลปินชาวไทย (แท้ๆ)ได้รับเกรียรติเข้าร่วมแสดงผลงานใน DOCUMENTA ON .12 โดยในนิทรรศการนี้เป็นการร่วมตัวกันของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัยจากทั่วทุกมุมโลกภายใต้บริบทของศิลปะในยุคสมัยปัจจุบัน

ทั้งนี้ สาครินทร์ เครืออ่อน ซึ่งเป็นศิลปินชาวไทยได้รับเกรียรติเข้าร่วมแสดงผลงานศิลปะ ซึ่งศิลปินทั่วโลกต่างก็นำเสนอลีลาทางทัศนศิลป์โดยมีรูปแบบที่ใหม่และท้าทายต่อโลกศิลปะ สื่อหรือเครื่องมือที่ล้ำสมัยต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศเยอรมันเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำผลงานศิลปะ

แต่เป็นที่น่าแปลกใจและประหลาดใจที่ว่าศิลปินไทยหรือ สาครินทร์นั้นได้นำพาเครื่องมือในการทำผลงานศิลปะเข้ามาเพียง จอบ เสียม และพี่ๆน้องๆชาวไทยเพียง 1 กลุ่มเล็กเท่านั้น สาครินทร์มาทำอะไร และผลงานศิลปะของเข้าอยู่ที่ไหน นั้นคงเป็นคำถามซึ่งนำพาไปสู่กระบวนการที่ท้าทายต่อคำว่าศิลปะของ สาครินทร์

สาครินทร์ ได้นำโครงการนาข้าวขั้นบันไดแห่งเมืองแคสเซิล โดยเริ่มจากความหวังที่จะท้าทายต่อความเป็นไปได้ทางศิลปะ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา(ต่างถิ่น) โดยการนำข้าวมาปลูกที่ประเทศเยอรมันซึ่งมีภูมิประเทศที่มีความแตกต่างจากภูมิลำเนาบ้านเกิด การที่
สาครินทร์ ได้นำพี่ น้องชาวไทยมา
1 กลุ่มคงอาจจะไม่เพียงพอต่อพื้นที่ตั้งโครงการที่นา พื้นที่ที่เนินเขาหน้าประสาทนั้นมีบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลจนเกินกำลังที่ได้เตรียมมาจากประเทศไทย แต่ปัญหาดังกล่าวได้สร้างความน่าสนใจต่อโครงการนาข้าว คือการร่วมมือร่วมใจของบรรดาศิลปินต่างชาติที่เป็นมิตรในประเทศทางตะวันตกมาสู่นาข้าวโดยการช่วยกันทำนา จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์สิ่งใหม่ที่น่าสนใจต่อพื้นที่ พื้นที่ต่างๆได้เกิดการขบคิดและสร้างบทสนทนาอันยิ่งใหญ่ในกระบวนการทำงานศิลปะ พื้นที่บริเวณนี้ศิลปินมิใช่เพียงสร้างพื้นที่ทางศิลปะแห่งใหม่ แต่เป็นการสร้างสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์แบบอย่างโลกตะวันออกอย่างแท้จริง โดยเป็นไปในแบบเฉพาะที่เฉพาะเวลา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลงานศิลปะเฉพาะพื้นที่(Site specifice)ผลงานศิลปะดังกล่าวได้สร้างสิ่งต่างๆให้มีการคบคิดต่อพื้นที่ ปัญหาหรือกลไกลต่างๆจึงเป็นกระบวนการทางศิลปะและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โดยมิสามารถแยกออกจากผลงาน
ศิลปะที่เป็นนาข้าวขั้นบันไดของสาครินทร์ได้เลย

การกลับมาไทย (อาร์เดล แกลอรี่)

แต่ในการกลับมาของนาข้าวจากประเทศเยอรมันสู่ประเทศไทยนี้ได้มีการนำเสนอผ่านรูปแบบของการบันทึก
(
Documents) ภายใต้พื้นที่ หอศิลป์ร่วมสมัย อาร์เดล ARDEL GALLERY OF MODER ARTอาจโดยเป็นพื้นที่หอศิลป์
อย่างแท้จริงในนิทรรศการ
”Ripe Project The Village and Harvest Time” สวรรค์บ้านนาถึงเวลาต้องเก็บเกี่ยว โดยภายในหอศิลป์เป็นการนำประสบการณ์ที่ผ่านกาลเวลาที่ประเทศเยอรมันมานำเสนอสู่ภายใต้บริบทของพื้นที่
หอศิลป์ประเทศไทย

โดยทั้งนี้ความน่าสนใจในครั้งนี้ได้ตกไปอยู่ที่ความรู้สึกประหลาดใจที่มีการนำนาข้าวมาปลูก
ที่บริเวณลานหน้าหอศิลป์เพื่อที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆระหว่างภายนอก(นาข้าว)และภายใน(รูปถ่ายและข้อมูลที่บันทึก) โดยอาจอาจมองข้ามการคำนึงถึงเวลาและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นของนาข้าว ณ.ประเทศเยอรมัน โดยการเกิดขึ้นนี้บริบทของพื้นที่รองรับผลงานศิลปะที่เป็นหอศิลป์ซึ่งมีภาพลักษณ์แห่งค้าขาย(ทุนนิยม) สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในหอศิลป์แห่งนี้อาจกลบสาระสำคัญทางศิลปะกลับกลายสู่ รูปแบบที่สวยงาม หรือ
Design ที่กายภาพของหอศิลป์ได้อำนวยเป็นอย่างดี ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าหอศิลป์แห่งนี้อาจทำลายสาระของผลงานศิลปะที่เป็นไปในแบบเฉพาะที่และเฉพาะเวลา
(
Site specifice) สู่เปลือกที่เป็นเพียงแค่รูปแบบที่แบบผิดทิศผิดทางและหยุดการรับรู้ไปสู่สาระทางศิลปะ

การกลับไปกลับมาต่อรูปแบบผลงานศิลปะที่ปรากฏภายใต้พื้นที่ร่วมสมัย อาร์เดล อาจทำขึ้นเพื่อยกระดับรสนิยมของพื้นที่ให้มีระดับในวงที่กว้างออกไปให้เข้ากับกระแสโลกศิลปะ
แต่ในการยกระดับหรือเพิ่มรสนิยมนั้นควรคำนึงถึงบริบทรายรอบตนเองที่ยังคงเป็นแบบแผนประเพณี
ศิลปากรนิยม ซึ่งเป็นการดีที่จะมีการยึดจุดหมายในแนวทางผลงานที่มีความงามจิตวิญญาณและหลักหลักวิชาการที่ยังคงต้อง
สืบเนื่องไปในสังคมศิลปะในประเทศไทย

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบของการรับรู้ที่ชัดเจนต่อพื้นที่หอศิลป์โดยที่การรับรู้ผลงานภายใต้พื้นที่ดังกล่าว
จะไม่เกิดการกลับไปกลับมาทางการรับรู้ผลงานศิลปะทั้งแบบร่วมสมัยและตามขนบประเพณีถ้าในตัวพื้นที่มีความ
ชัดเจนในแนวทางผลงานที่แสดงและ
จริงใจต่อการนำเสนอผลงานศิลปะออกสู่สาธารณชน

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

15 04 51

“ลูกทุ่ง ลูกทุ่ง” ท่าทางจังหวะสีสันแห่ง “บ้านนอก บ้านนอก”

ลูกทุ่ง ลูกทุ่ง ท่าทางจังหวะสีสันแห่ง บ้านนอก บ้านนอก

ภายใต้สีสันที่ร้อนแรง ฉูดฉาดและกระตุ้นอารมณ์ของผลงานศิลปะในห้องจัดแสดงผลงานศิลปะสีขาว ทำให้ผลงานศิลปะของ นฤมล ปัดสำราญ ที่มีการจัดแสดงในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย brandnew 2008 ที่หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีความโดดเด่นและแยกตัวออกจากห้องจัดแสดงชัดเจน ด้วยวัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สามารถสะท้อนถึงแหล่งที่มาของการเกิดขึ้นของผลงานศิลปะชิ้นนี้ได้เป็นอย่างดี เศษไม้เก่าที่มีล่องลอยผ่านกาลเวลาและเรื่องราวได้ถูกนำมาประกอบร่างเป็นผลงานศิลปะที่เป็นนามธรรม หลงเหลือแต่ทัศนธาตุความงามทางศิลปะที่บ่งบอกถึงกระบวนการคิดที่เรียบง่ายซึ่งสามารถสะท้อน
ถึงความเป็นมาและวิถีชีวิตของศิลปินที่มีหัวใจเป็นลูกทุ่ง
การที่ศิลปินหญิงคนนี้ได้มีการนำเสนอผลงานศิลปะ
ผ่านตันตนที่แท้จริงนับเป็นการที่นำรากเหง้าวัฒนธรรมความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่แท้จริงของตนเองมานำเสนอ โดยที่ไม่มีการสร้างความเป็นอื่นมาสู่ตัวตนความเป็นอื่นในที่นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระแสหรือรูปแบบ
ทางศิลปะในปัจจุบันที่ผู้ที่ทำงานศิลปะในยุคสมัยหลายคนถวิลหาเพื่อที่จะยกระดับรสนิยมตัวเอง
โดยที่ไม่ดูความเป็นจริงของตนเอง สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงเหมือนการสร้างเพื่อให้คนอื่นเข้าใจและยอมรับ แต่การที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจนั้นเราผู้สร้างผลงานศิลปะต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในความจริงของ
รสนิยม(สันดาน)ตนเอง มิใช้หลงไปตามกระแสของศิลปะกระแสของศิลปะต่างๆนี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อ
หรือเทคโนโลยี่ใหม่ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกทั้งสิ้น

การที่ นฤมล ได้มีการยอมรับและมีการแสดงออกเช่นนี้นั้นเป็นการสื่อสัตย์ต่อตนเอง
และผู้ชมผลงานศิลปะ โดยมีแสดงตนของคำว่า
แซ่บ ลาว ได้อย่างถึงใจ ซึ่งภูมิลำเนาของ นฤมล เป็นคนจังหวัด มหาสารคาม ทางบ้านประกอบอาชีพคณะเพลงลูกทุ่ง สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้หล่อหลอมตัวเธอจน
ออกมาเป็นผลงานศิลปะที่มีสีสัน จังหวะ ลีลาได้อย่างสนุกสนานถึงใจ

ความจริงที่ นฤมลได้มีการนำเสนอผ่านกระบวนการทางศิลปะนั้นเริ่มตั้งแต่ตัวเองที่
ถูกสภาพแวดล้อมเพาะบ่มจนมาถึงวัสดุที่นำมาเลือกใช้นับเป็นการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา
ไม่ปรากฏความสลับซับซ่อนทางศิลปะมากนักนับเป็นการดีเมื่อผู้เข้ามาชมผลงานจะสามารถรับรู้
เข้าถึงผลงานและจะสร้างบทสนทนาระหว่างผู้ชมกับผลงานศิลปะ ศิลปะจึงไม่เป็นเรื่อง
แปลกและไกลตัวสำหรับผู้ชม

คำว่า แซ่บ ลาว จึงเหมาะสมและคู่ควรกับผลงานประติมากรรมของเธอ สิ่งที่เป็น 3 มิติและ2มิติที่เธอได้สร้างนั้นนับเป็นศิลปะที่ออกมาจากสิ่งแวดล้อมของเธออย่างแท้จริงและบ่งบอกถึง
พัฒนาการของศิลปะร่วมสมัยที่มีมุมมองของความเป็นไทย

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

02 03 51



งานกาชาดกับการจำแลงพื้นที่ ที่มีความจริงและทับซ้อนกันของเวลาในความเป็นร่วมสมัย

งานกาชาดกับการจำแลงพื้นที่ ที่มีความจริงและทับซ้อนกันของเวลาในความเป็นร่วมสมัย

ความเป็นพื้นที่ในความเป็นรูปธรรมนั้นยังคงต้องมีคำว่า การใช้ส่อย ของตัวมันเองเพื่อเป็นตัวบ่งบอกฐานะของพื้นที่นั้นคงอยู่จริง พื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวของสถานการณ์และประสบการณ์ร่วมของผู้คนที่เข้าไปสัมผัสจากโดยตั้งใจหรือมิได้ตั้งใจก็ตาม ความเป็นพื่นที่นั้นยังคงแสดงกำลังของหน้าที่โดยมิได้เกิดจากผู้คนเข้าไปบังคับหรือจัดการใดๆ การแสดงออกจึงเป็นไปอยางธรรมชาติของบริบทแวดล้อมนั้นๆ

บริบทแวดล้อมของอณาเขตแวดล้อมนั้นๆจึงเป็นระนาบรองรับประสบการณ์และสถานการณ์ร่วมของผู้คนที่เข้าไปสัมผัสซึ่งเป็นการผสานกันระหว่างระนาบรองรับกับผู้คนเพื่อที่จะค้นหาเรื้องราวหรือประสบการณ์ร่วมเพียงแค่ชั่วขณะ แล้วความเป็นพื้นที่นั้นจึงเกิดความสมบรูณ์แบบในตัวมันเองโดยที่ไม่ต้องการการปรุงแต่งหรือจำแลง จำรองใดๆ

ความเป็นพื้นที่ในบริบทของความเป็นร่วมสมัยมีกระแสความคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะหรือกิจกรรมใดๆทางศิลปะเพื่อต้องการแสดงออกถึงเรื่องราว ประสบการณ์และเวลา นำเสนอผ่านระนาบของพื้นที่นั้นเพื่อแสดงบริบทต่างๆให้ออกมาเห็นอย่างเด่นชัดและแฝงด้วยนัยต่างๆ ประเด็ญต่างๆเหล่านี้ตกเป็นกระแสของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสังคมศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย การบ่งบอกเรื่องราวของความเป็นพื้นที่รองรับและตัวผลงานศิลปะล้วนตกอยู่ในกระบวนการคิดรอบด้านในเรื่องของพื้นที่ในบริบทของศิลปะร่วมสมัย

การจัดการว่าด้วยเรื่องของพื้นที่ ที่ได้มีการจำแลงโดยที่ทำการฉีกหนีจากความจริงหรืออดีตของพื้นที่นั้นโดยมีการสวมทับกันของการจัดกิจกรรมและมหกรรมสินค้าลดราคาที่สามารถดึงดูดผู้คนจากทุกแห่งหนมารวมอยู่ในพื้นที่โดยที่มีความสามารถในการลบหรือกลบความเป็นพื้นที่ดั้งเดิมได้อย่างแนบเนียนและยังสามารถสร้างระยะเวลาใหม่ที่สวมทับเวลาเดิมได้อย่างสมบรูณ์

งานกาชาดที่จัดขึ้น ณ สวนอัมพรบริเวรลานพระบรมรูปทรงม้า สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เป็นตัวอย่างของการจำแลงพื้นที่ดังที่กล่าวมาในขั้นต้น โดยมีการสร้างระยะเวลาใหม่โดยเป็นการทับซ้อนกันของพื้นที่และเวลา(ดั้งเดิม)ซึ่งเป็นการสร้างปรากฏการณ์ทางพื้นที่ ที่มีความเป็นร่วมสมัยอยู่มากโดยเป็นการมองจากของเดิมและสิ่งเดิมที่เต็มไปด้วยเวลาและหน้าที่ ในความสามารถในด้านการจัดการนั้นสามารถสร้างระยะเวลาใหม่และหน้าที่ใหม่ที่อาศัยความมีอยู่จริงจากของเดิมโดยการสร้างหน้าให้เป็นลานกิจกรรมและมหกรรมสินค้าลดลาคา

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างสุดขีด โดยการแฝงตัวกันของร้านค้าและความเป็นสถานที่ที่มีการโอบรัดกันระหว่าง2สิ่ง เช่น ร้านค้ามีต้นไม้โผล่ขึ้นมาตรงกลางร้านและป้ายจราจรบอกทางก็แฝงและแทรกตัวอยู่ตามเต้นท์ร้านค้าอยู่ตามทางตลอดงาน โดยการขัดแย้งนี้เป็นการขัดแย้งอย่างปฎิเสธของเดิมโดยการลดทอนหน้าที่ดั้งเดิมของพื้นที่นั้นอย่างสิ้นเชิง การผสานกันระหว่างพื้นที่กับมหกรรมสินค้านี้เป็นการผสานกันอย่างขัดแย้งสุดขีดแต่แฝงเสน่ท์และสุนทรีย์ของความลงตัวในด้านการจัดการเช่นกัน

การลงตัวดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เข้าสู่ในตัวงานซึ่งเป็นถนนจราจรที่ใช้อยู่จริงโดยเป็นการหยิบฉวยและนำพาสู่หน้าที่ใหม่คือลานคนเดิน ซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกันแต่สามารถสร้างปฎิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนได้มากกว่าของเดิมซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างกันโดยการเดินเท้าแทนการแทนการใช้รถยนต์บนผิวถนน ความสามารถในการจัดการนี้ได้นำ2ฝังถนนที่เป็นเพียงแค่ทางเท้าได้เปลียนเป็นเต้นท์ร้านค้าที่ยาวอยู่2ฝังถนน โดยการจัดการว่าด้วยการพลิกแพงของเดิมนี้เป็นไปทั้งงานกาชาดที่จัดขึ้น ณ สวนอัมพร

ในตัวงานมหกรรมนี้ก็มิได้มีความโดดเด่นอะไรมากเพียงแค่การออกร้านสินค้าต่างๆและกิจกรรมการกุศลแต่จุดที่น่าสนใจนี้ตกไปอยู่ตรงที่การเคลือนไหวและมุมมองของนักจัดการว่าด้วยการหยิบฉวยพื้นที่โดยที่มีความขัดแย้งและมีเสน่ท์ของความลงตัวอยู่ในระยะเวลาเดียวกันโดยการทับซ้อนกันของเวลาและพื้นที่ดั้งเดมสู่พื้นที่ใหม่(งานกาชาด)

งานกาชาดจัดขึ้นตั้งแต่29มีนาคม-6เมษายน 2550.ซึ่งสิ้นสุดลงไปพร้อมกับการมีปฎิสัมพันธ์ของผู้คนและกลับสู่สภาพการจราจรและความเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของพื้นที่แวดล้อมนั้นๆ

จากความน่าสนใจในประเด็ญที่ว่าความขัดแย้งและเสน่ท์ของความลงตัวในด้านการจัดการนี้เป็นการตั้งคำถามของผู้เขียนว่าด้วยเรื่องพื้นที่ของงานศิลปะร่วมสมัยจะมีปรากฏการณ์เช่นนี้ในประเทศไทยหรือไม่? ปรากฏการณ์ที่สร้างปฎิสัมพันธ์อันดีกับการบริโภคงานศิลปะโดยที่ผู้ชมผลงานได้อะไรไปมากกว่าแค่การเดินชมผลงานในหอศิลป์หรือแกลลอรี่ที่แสดงผลงานศิลปะโดยที่ผู้ชมผลงานเดินกลับไปอย่างไรบทสนทนากับผลงานศิลปะ...................................................................

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

3/04/50

ศิลปะ-ร่างกาย(พื้นที่)-เวลา = Post-Modern

จากการศิลปะในประเทศไทยมีการพัฒนาโดยมีความเป็นตะวันตกเป็นแม่แบบทั้งทางด้านรูปแบบหรือกระบวนการในการคิด โดยการยึดหลักคำว่าสุนทรียศาสตร์ตามความเป็นตะวันตก โดยอาจจะลืมนึกไปว่าศิลปะในประเทศไทยความตอบสนองวัฒนธรรมหรือวิถีความเป็นไทย หรือตะวันออก ทั้งรูปแบบหรือวิธีคิดโดยให้เข้ากับความเป็นยุคสมัยปัจจุบัน

แต่ในเมื่อความเป็นตะวันตกมาเป็นแม่แบบจนเป็นระเบียบแบบแผนหรือธรรมเนียมปฏิบัติ เราคนไทยจึงควรนำมาแยกแยะวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้ความรู้ที่ได้พัฒนากันมานี่มีคุณประโยชน์และสามารถตอบสนองความเป็นสังคมวัฒนธรรมไทย โดยการวิเคราะห์นี่ครอบคลุมไปถึงรูปแบบวิธีคิดหรือภาษาในการแสดงออกการนำผลงานศิลปะให้เข้ากับ
บริบทสังคมไทยนั่นอาจต้องมีการคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่ผู้ชมสามารถนำไปสะท้อนถึงบริบททางสังคมหรือ
เป็นการส่งสารจากผู้ให้สู่ผู้รับอย่างมีศักยภาพ คุณประโยชน์ของศิลปะ อาจจะสะท้อนถึงบริบท ชนชาติ การเมือง สังคม หรือวงการศิลปะในการสะท้อนถึง วงการศิลปะด้านผลงานศิลปะนั่นเปรียบเหมือนเป็นการวิจารณ์ด้วยภาษาทัศนศิลป์ บริบทต่าง ๆ ของวงการศิลปะได้ถูกขยายความด้วยผลงานศิลปะและแสดงออกผ่านสุนทรีย์
แต่การวิจารณ์นั้นก็เป็นมาตราวัดของความเป็นตะวันตกเหตุใดจึงนำการวิจารณ์ที่มีการวิจารณ์ในบริบท
สังคมศิลปะของความเป็นไทยที่มีรูปแบบวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแตกต่างจากชนชาติตะวันตกมาวิเคราะห์
เปรียบเทียบกับความเป็นตะวันออก

สำหรับผลงานศิลปะที่มีการวิจารณ์สังคมของศิลปะนั้น วันทนีย์ ศิริพัฒนานัทการเป็นศิลปินหญิงที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ประเทศไทย แล้วได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมัน การศึกษาศิลปะของวันทนีย์นั้น เป็นไปอย่างเข้มข้นและมีความพยายามที่จะฉีกตัวออกจารีตปฏิบัติเดิม ๆ เขาได้ทำศิลปะให้ถวายเป็นชีวิตประจำวันโดยเริ่มต้นที่ประเทศไทย เขาได้นำร่างกายหรือตัวตนเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงออกของวันทนียื

การแสดงออกนี่เป็นการแสดงออกโดยการปะทะกันระหว่างอัตวิสัยภาวะวิสัย โดยการใช้สื่อที่มีความจริงผ่านกระบวนการผสานหล่อหลอมกับบริบทแวดล้อมรอบบ้างโดยใช้ตัวตน
และร่างกายเป็นสื่อ
Project ต่างที่วันทนีย์ทำขึ้นในประเทศไทยล้วนมีประเด็นเกี่ยวกับศิลปะกับชีวิตประจำวัน โดยผลงานเปรียบเหมือนการค้นคว้าวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยผลงานของวันทนีย์กินระยะเวลาร่วม 1 ปี ในแต่ละชิ้นงาน เวลาซึ่งมีความเป็นจริงทางสังคมและวัฒนธรรมความเป็นไทย

วันทนีย์ ได้จัดทำเสื้อที่มีลายพิมพ์แต่ละวันตลอดทั้งปี นำมาใส่ภายใต้ระยะเวลา 1 ปี โดยเสื้อนั้นก็มี 365 ตัว ใส่โดยไม่ซ้ำกัน การแสดงวันและเวลาของวันทนีย์นั้น เหมือนเป็นการตอบสนองภาวะความคิดภายในของศิลปินโดยมีความต้องการแสดงความเป็นปัจจุบันให
้ปรากฏเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยการนำเสนอเวลาของโลกที่เป็นสากลหรือที่เป็นมายาด้วยการนี้งาน
ของมนุษยเพื่อเหตุผลในการดำรงชีวิต เวลาได้กลืนกินทุก ๆ อย่างโดยที่เรามิอาจหลีกหนีไปได้ แต่วันทนีย์มิได้มีความคิดที่จะลืมเลือนหรือหลีกหนีใด ๆ แต่กลับนำเสนอภาวะของเวลาดังกล่าวให้ปรากฏเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การปรากฏของสิ่งที่มีความจริงและเป็นรูปธรรมด้วยภาษานั้นเหมือนเป็นการเน้นยิ่ง ซึ่งซ่อนกับภาวะความจริงแท้ของเวลากับการผสานกันของร่างกายที่ใช้เป็นสื่อ สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่ปรากฏนี่ได้มีนัยบ่งบอกถึงกระบวนการคิดภายในของศิลปินที่มีตัวประเด็นดังกล่าว จนทำให้เกิดความเป็นนามธรรมที่ทับซ้อนกับความเป็นรูปธรรมอย่างสุดขั่ว
สิ่งที่เกิดขึ้นนี่ศิลปินได้หยิบยกประเด็นใกล้ตัวนำมาขยายความและต่อรองกับตัวตนและความจริงของสังคม โดยการปรากฏของอัตวิสัยและภาวะวิสัยของศิลปินและสังคมความเป็นจริง
การใช้ร่างกายเป็นสื่อในการแสดงออกนั้นเปรียบดั่งร่างกายเป็นพื้นที่รองรับผลงานศิลปะที่มีการเคลื่อนที่
และเคลื่อนไหวตลอดเวลา การไม่พบค้นของร่างกายที่ไปในพื้นที่รองรับผลงานศิลปะนั้น เป็นการวิพากษ์ศิลปะด้วยศิลปะ เหตุที่ผลงานของวันทนีย์ไม่เข้าไปอยู่ในตัวศิลป์แต่ได้นำมาแฝงอยู่กับวิถีชีวิตประจำวันของศิลปิน เต็มไปด้วยความคิดที่ต้องการเสียดสี วิเคราะห์และวิจารณ์วงการศิลปะ ว่าด้วยการยึดติดต่อวัตถุหรือแบบแผนวาริตนิยม เมื่อเป็นเช่นนี่แล้วความเป็นสาการณะของผลงานศิลปะของวันทนีย์ จึงเกิดขึ้นอย่างหลีกหนีมิได้ การกระทำเช่นนี่สอดคล้องกับการแสดงความคิดของยุคสมัย
Post-Modern ที่เป็นการแยกตัวออกจาก Modern ว่าด้วยการนำผลงานศิลปะแฝงและแทรกซึมเข้าไปทุกอณูของชีวิตและสังคมความเป็นจริง ความจริงแท้เป็นสิ่งที่ชาว Post-Modern ต้องการและไขว่คว้ามาโดยตลอด ความว้างที่เป็นสิ่งเรียบง่ายต่อการรับรู้แต่แฝงไว้ด้วยองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีต่อชีวิตและสังคม

เมื่อพื้นที่ทางศิลปะของวันทนีย์เป็นความจริงที่มีความแท้และแฝงตัวอยู่กับชีวิตประจำวัน จึงเป็นการตอบสนองยุคสมัยของศิลปะที่วันทนีย์มีความต้องการ การไม่ยึดติด การหลุดพ้นต่าง ๆ แฝงไปด้วยกระบวนการติดทางศิลปะที่มีรากเง้าความเป็นตะวันตกหรือแหล่งกำเนิดของยุคสมัย

กฤษฎา ดุษฎีวนิช
10 10 50

THE WAY TO ART เส้นทางรู้ศิลปะจริงหรือ?

THE WAY TO ART เส้นทางรู้ศิลปะจริงหรือ?

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะชั้นแนวหน้าในวงการศิลปะในประเทศไทย มีการผ่านประสบการณ์ของเรื่องต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทำให้นักศึกษาค้นคว้าและทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา การพัฒนาวงการศิลปะในประเทศไทยจึงได้เป็นที่จับตามอง จากผลงานนักศึกษาในคณะก็ดี หรือจากการประกวดศิลปกรรมที่จัดขึ้นในองค์กรก็ดี เนื้อหาและรูปแบบความคิดที่ผ่านมาของนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ ภาพร่วมค่อนข้างสมบูรณ์ มีการพัฒนารูปแบบและเทคนิคความคิดต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้หลุดกรอบและจารีตประเพณีดั้งเดิม

ที่กล่าวมานี้อาจจะพบเห็นได้ในผลงานระดับปริญญาตรี เหล่านักศึกษามีไฟในการทำงานค้นคว้าทดลองและหาความเป็นไปได้ใหม่ถึงแม้ว่าจะถูกมองจากสถาบันเดียวบ้างว่าเรายังยึดติด แต่ในความจริงการพัฒนาของเหล่านักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการรับข่าวสารข้อมูลทางศิลปะและเปิดรับความใหม่ของงานศิลปะอยู่เสมอ การรับมิได้รับแต่รูปแบบและความคิดมาเท่านั้น แล้วจึงนำมาอยู่ในกระบวนการคิด เลยทำให้งานศิลปะของคณะจิตรกรรมฯ ค่อนข้างไปได้ช้า เพราะยังต้องมีกรอบจารีตที่ต้องผ่านการสังเคราะห์ต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ดีความเป็นคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ภาพรวมก็ยังไม่ถึงกับเชื่อช้างมากนัก ก็ยังพบเห็นผลงานที่เรียกว่าข้ามยุคอยู่บ้างจากสังคมศิลปะภายนอก

มหาบัณฑิตกับเส้นทางรู้ศิลปะ

THE WAY TO ART “เส้นทางรู้ศิลปะ จัดแสดงระหว่างวันที่ 4 สิงหาคม 22 สิงหาคม 2549 ณ หอศิลป์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผลงานของนักศึกษาที่ผ่านระดับปริญญาตรีและกำลังศึกษาระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยแนวหน้าทางศิลปะของประเทศ ผลงานเป็นผลงานในสาขาจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ผ่านมุมมองทัศนคติและความรู้ของตนเอง ภาพผลงานจึงผ่านมุมมองของตนเอง ว่าด้วยเรื่องต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างประสบการณ์

ความเป็นมาตรฐานของผลงานศิลปะในระดับปริญญาโท มีความจำเป็นต้องผ่านกระบวนการคิดในระดับการศึกษาที่ผ่านมา และยังต้องมีการพัฒนารูปแบบเทคนิคและความคิดให้สูงขึ้นไปตามระดับ แต่ในความเป็นจริงที่พบเห็นในนิทรรศการ THE WAY TO ART ครั้งที่ 3 นี้ เป็นตัวบ่งชี้ถึงพัฒนาการทางศิลปะของพวกเขาอย่างเห็นได้ชัด การพัฒนาซึ่งมีรูปแบบที่เชื่องช้า อาจกล่าวได้ถึงการถอยหลังของวงการศิลปะของคณะจิตรกรรมฯ ซึ่งปรากฏให้เห็นได้ในนิทรรศการ

มุมมองและกระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ยังเป็นรูปแบบดั้งเดิมซึ่งรูปแบบและกระบวนการคิดที่จะพบเห็นได้ในงานศิลปกรรม 10 – 20 ปีมาแล้ว การพัฒนาที่ไร้ซึ่งความรู้นี้มีมูลเหตุและปัจจัยใดบ้างในการสร้างสรรค์หรือความเป็นกรอบจารีตบีบบังคับอยู่ แต่ในการสร้างสรรค์ก็ควรจะทดลองค้นคว้ารูปแบบเทคนิคและกระบวนการคิดใหม่เพื่อสอดคล้องกับความรู้ของตนและสามารถสะท้อนสังคมชีวิตและจิตวิญญาณของตนเองได้ภายใต้มุมมองใหม่ มิใช้จมอยู่กับความงามซึ่งเป็นความงามที่ปรากฏให้เห็นมามากพอแล้ว ความงามซึ่งไร้สุนทรีย์ภาพของยุคสมัย เป็นเพียงแค่ความยากเพื่อที่จะได้ความงามโดยมิได้ผ่านกระบวนการขององค์ความรู้ของยุคร่วมสมัย

กระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ในผลงาน THE WAY TO ART นี้เป็นไปอย่างแบนราบ พบเห็นได้เพียงกระบวนการของการถ่ายทอดความงาม ซึ่งไร้กลิ่นอายของตัวตน ความคิดดังกล่าวนี้จะพบเห็นได้ในผลงานของศิลปินรุ่นก่อนซึ่งอาจทำมาดีและสมบูรณ์อยู่แล้วหรือเริ่มต้นของกระบวนการค้นคว้าและทดลองความคิดและรูปแบบจึงไม่สมบูรณ์

ความซ้ำซากจำเจเหล่านี้มิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ควรพยายามพัฒนาและหาความรู้ใหม่มาเสริมหรือทดแทนความซ้ำซากเหล่านี้ เพื่อเป็นการละทิ้งของรูปแบบและความคิดดั้งเดิม

การสร้างสรรค์งานศิลปะย่อมผ่านกระบวนการของเวลาและประสบการณ์ของความรู้จะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่อยู่ในผลงานศิลปะซึ่งถ่ายทอดออกมาด้วยประสบการณ์และชีวิตเป็นศิลปะ

ความรู้สึกของการถ่ายทอดความงามมีความจำเป็นมากในการนำเสนอถึงตัวศิลปินมุ่งประเด็นไปที่ความงามและความรู้สึกนั้นย่อมจำเป็นต้องใช้พื้นฐานความรู้ทางทักษะเพื่อเป็นการถ่ายทอดความงามได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถ้าความงามที่ต้องการจะนำเสนอปราศจากการกระต้นอารมณ์เพื่อให้บรรลุไปถึงความรู้สึกความงามนั้นก็เป็นเพียงความงามที่ปราศจากสัจจะของความจริงเสมือนเปลือกเท่านั้น การถ่ายทอดความเป็นสัจจะนิยมของความงามย่อมต้องมีความรู้สึกเข้ามาผสานในระนาบของผลงานจิตรกรรม

ถ้ากล่าวถึงการทดลองและค้นคว้านั้น สื่อและวัสดุใหม่ ๆ ก็เข้ามามีผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่หน้าแปลกใจ การใช้สื่อและวัสดุพบเห้นในผลงานนิทรรศการที่น้อยมาก เป็นเพียงแต่ระนาบของเทคนิคที่เป็นจิตรกรรม 2 มิติเท่านั้น การก้าวออกไปสู่ความคิดรอบด้นแบบ 3 มิติ ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกในวงการศิลปะ แต่ในขณะเดียวกันการทดลองค้นคว้าที่ปราศจากสิ่งใหม่จะเป็นการทดลองและค้นคว้าได้อย่างไร ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างกันแต่มีส่วนเหมือนกันคือการค้นหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาศึกษาค้นคว้าและทดลองเพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ ความใหม่จึงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ

จากนิทรรศการ THE WAY TO ART นี่ ส่วนากจะพบเห็นผลงานที่พยายามสร้างสรรค์ในแนวทางสัจจะนิยมอยู่มาก ความคิดมักพูดเรื่องความงามของความจริงที่ปรากฏได้พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน เนื้อหาอาจสะท้อนมุมมองของความเป็นเมืองและโลกของวัตถุนิยม ซึ่งเป็นมุมมองพื้นฐานของการสร้างสรรค์งานศิลปะในปัจจุบัน

อรุณอมรินณ์ Oil on Canvas เป็นผลงานของนายเกรียงไกร เผ่าจินดา จบศิลปบัณฑิตจากคณะจิตรกรรมฯ และกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทที่คณะจิตรกรรมฯ ผลงานของเกรียงไกรเป็นผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันเสนอและแสดองออกในรูปแบบความเหมือนจริง เป็นมุมมองที่เป็นมุมกว้างของเมืองหลวงที่เน้นพื้นที่ว่างทางอากาศ (ท้องฟ้า) เพื่อให้เห็นถึงสีสันของความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งขัดแย้งกับส่วนล่างของผลงานที่เป็นรูปแบบของเมืองสีสรรค์ของเมืองหลวง ป้ายไฟ ป้ายโฆษณา ต่างเป็นทิวทัศน์ในเมืองหลวงของมุมมองเกรียงไกร

แต่ถ้ามองไปที่มุมมองของตัวศิลปินคิดและก็มีความน่าสนใจอยู่มาก ทั้งด้านรูปแบบมุมมองและกระบวนการคิด ว่าด้วยเรื่องทิวทัศน์ธรมชาติและทิวทัศน์เมืองหลวง ซึ่งมีความขัดแย้งอยู่ในตนเองและสามารถแฝงนัยยะสำคัญต่าง ๆ ไว้มากมาย แต่ติดตรงที่ว่ามุมมองรูปแบบและเทคนิคในการนำเสนอเหล่านี้จะพบเห็นได้ในผลงานของ วิทวัส ทองเขียว ซึ่งเขาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่มีความเหมือนจริง และสะท้อนความเป็นสัจจะนิยมได้อย่างมีพลัง ความงามของความจริงของเขามีทักษะสู่ของการแสดงออกจึงสามารถดึงเอาความรู้สึกของต้นแบบออกมาได้ ความหน้าทึ้งของผลงานเขาปะทะได้เมื่อผลงานอยู่ตรงหน้า การเลียนแบบธรรมชาติมิใช่การเลียนแบบของรูปร่าง รูปทรง และมุมมองเสมอไป การเลียนแบบต้องสามารถเจาะไปยังความรู้สึกต่าง ๆ ที่แฝงตัวอยู่กับต้นแบบและความรู้สึกส่วนตัวของศิลปิน การเลียนแบบธรรมชาติของเขาจงไม่ใช่การเลียนแบบเพื่อเอาชนะธรรมชาติเสมอไป แต่เป็นการเลียนแบบที่มีนัยยะของการเอาชนะเทคโนโลยีเพิ่มเข้ามาอีกด้วย การเลียนแบบนี้จึงมีเสน่ห์และรสนิยม บางทีเนื้อหาอาจมิได้อยู่ในกระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน แต่อาจอยู่ในกระบวนการของความงามและความจริงของธรรมชาติเอง

ความเป็นสัจจะนิยมที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดที่สุดคือผลงานของกรีฑา พรมโว สวรรค์บ้านนา สวรรค์ของกรีฑา คือ ความเป็นชนบทความอบอุ่นที่หามิได้ในสังคมเมืองหลวง ความเป็นอยู่ที่พอเพียง จากสภาพเศรษฐกิจของชนบทสามารถสร้างความงามและความอบอุ่นให้เป็นดั่งสรวงสวรรค์ชั้นบนสุดได้ แต่จากการถ่ายทอดของเขา ความงามของสวรรค์นั้นไม่หลงเหลือซึ่งความงามเลย มีเพียงแต่การจัดองค์ประกอบภาพขั้นพื้นฐานและมุมมองแบบรวมไร้ซึ่งมิติทางความคิด เป็นเพียงมุมฉากภาพถ่ายที่บันทึกไว้แล้วนำมาสร้างสรรค์

รูปแบบและเทคนิคเป็นผลงานจิตรกรรมสีอะครายลิคที่มีชั้นเชิงและทักษะการทำงานขั้นพื้นฐาน ปราศจากจิตวิญญาณของการเรียนแบบเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายของความจริงและความงาม

ปัญหาทั้งหมดนี่เกิดขึ้นจากการแสดงออกจากความคิดไปสู่รูปแบบเทคนิคของผลงานการสร้างสรรค์ผลงานจึงไม่สมบูรณ์แบบตามที่วาดฝันไว้ให้เป็น สวรรค์ของบ้านนา สิ่งที่เป็นสัญญะของความงาม ความจริง และสวรรค์ของกรีฑา จึงมิได้ปรากฏในภาพผลของเขา ปรากฏแต่เพียงการถ่ายทอดความเป็นชนบทที่มีตัวตนแบบจากความจริงที่บันทึกมา

จากมูลเหตุและปัญหาของนิทรรศการ THE WAY TO ART นี่จึงมีคำถามเพื่อต้องการคำตอบว่า มาตรฐานของการศึกษาในระดับปริญญาโทของคณะจิตรกรรมอยู่ที่จุดไหน สิ่งบ่งชี้ความเป็นปริญญาโทอยู่ที่ใด และการทดลองค้นคว้าและหาความเป็นไปได้ใหม่ทางศิลปะจะปรากฏขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ผู้สอนก็อยู่ในกระบวนการการศึกษาและให้ความรู้เช่นกัน ความเป็นจารีตประเพณีนิยมสมควที่จะมาอยู่ในระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาศิลปะแถวหน้าหรือไม่ หรือการใฝ่หาความรู้ของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำจนแทบผู้สอนเติมความรู้นี่ไม่ได้ จากปัญหานี้จึงหวังว่าจะพบกับปรากฏการณ์ทางศิลปะให้ปรากฏในการหาความเป็นไปได้ทางศิลปะ เพื่อค้นคว้าและทดลองความใหม่สู่วงการและสถาบันศิลปะในประเทศไทยอีกต่อไป

THE WAY TO ART “เส้นทางสู่ศิลปะ ต้องให้เป็นเส้นทางที่นำพาองค์ความรู้ใหม่และความท้าทายเพื่อไปสู่เส้นทางของศิลปะร่วมสมัยไทยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

04 / 03 / 07

เกี่ยวกับฉัน