วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

“ลูกทุ่ง ลูกทุ่ง” ท่าทางจังหวะสีสันแห่ง “บ้านนอก บ้านนอก”

ลูกทุ่ง ลูกทุ่ง ท่าทางจังหวะสีสันแห่ง บ้านนอก บ้านนอก

ภายใต้สีสันที่ร้อนแรง ฉูดฉาดและกระตุ้นอารมณ์ของผลงานศิลปะในห้องจัดแสดงผลงานศิลปะสีขาว ทำให้ผลงานศิลปะของ นฤมล ปัดสำราญ ที่มีการจัดแสดงในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย brandnew 2008 ที่หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีความโดดเด่นและแยกตัวออกจากห้องจัดแสดงชัดเจน ด้วยวัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สามารถสะท้อนถึงแหล่งที่มาของการเกิดขึ้นของผลงานศิลปะชิ้นนี้ได้เป็นอย่างดี เศษไม้เก่าที่มีล่องลอยผ่านกาลเวลาและเรื่องราวได้ถูกนำมาประกอบร่างเป็นผลงานศิลปะที่เป็นนามธรรม หลงเหลือแต่ทัศนธาตุความงามทางศิลปะที่บ่งบอกถึงกระบวนการคิดที่เรียบง่ายซึ่งสามารถสะท้อน
ถึงความเป็นมาและวิถีชีวิตของศิลปินที่มีหัวใจเป็นลูกทุ่ง
การที่ศิลปินหญิงคนนี้ได้มีการนำเสนอผลงานศิลปะ
ผ่านตันตนที่แท้จริงนับเป็นการที่นำรากเหง้าวัฒนธรรมความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่แท้จริงของตนเองมานำเสนอ โดยที่ไม่มีการสร้างความเป็นอื่นมาสู่ตัวตนความเป็นอื่นในที่นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระแสหรือรูปแบบ
ทางศิลปะในปัจจุบันที่ผู้ที่ทำงานศิลปะในยุคสมัยหลายคนถวิลหาเพื่อที่จะยกระดับรสนิยมตัวเอง
โดยที่ไม่ดูความเป็นจริงของตนเอง สิ่งต่างๆเหล่านี้จึงเหมือนการสร้างเพื่อให้คนอื่นเข้าใจและยอมรับ แต่การที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจนั้นเราผู้สร้างผลงานศิลปะต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในความจริงของ
รสนิยม(สันดาน)ตนเอง มิใช้หลงไปตามกระแสของศิลปะกระแสของศิลปะต่างๆนี้ไม่ว่าจะเป็นสื่อ
หรือเทคโนโลยี่ใหม่ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกทั้งสิ้น

การที่ นฤมล ได้มีการยอมรับและมีการแสดงออกเช่นนี้นั้นเป็นการสื่อสัตย์ต่อตนเอง
และผู้ชมผลงานศิลปะ โดยมีแสดงตนของคำว่า
แซ่บ ลาว ได้อย่างถึงใจ ซึ่งภูมิลำเนาของ นฤมล เป็นคนจังหวัด มหาสารคาม ทางบ้านประกอบอาชีพคณะเพลงลูกทุ่ง สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้หล่อหลอมตัวเธอจน
ออกมาเป็นผลงานศิลปะที่มีสีสัน จังหวะ ลีลาได้อย่างสนุกสนานถึงใจ

ความจริงที่ นฤมลได้มีการนำเสนอผ่านกระบวนการทางศิลปะนั้นเริ่มตั้งแต่ตัวเองที่
ถูกสภาพแวดล้อมเพาะบ่มจนมาถึงวัสดุที่นำมาเลือกใช้นับเป็นการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา
ไม่ปรากฏความสลับซับซ่อนทางศิลปะมากนักนับเป็นการดีเมื่อผู้เข้ามาชมผลงานจะสามารถรับรู้
เข้าถึงผลงานและจะสร้างบทสนทนาระหว่างผู้ชมกับผลงานศิลปะ ศิลปะจึงไม่เป็นเรื่อง
แปลกและไกลตัวสำหรับผู้ชม

คำว่า แซ่บ ลาว จึงเหมาะสมและคู่ควรกับผลงานประติมากรรมของเธอ สิ่งที่เป็น 3 มิติและ2มิติที่เธอได้สร้างนั้นนับเป็นศิลปะที่ออกมาจากสิ่งแวดล้อมของเธออย่างแท้จริงและบ่งบอกถึง
พัฒนาการของศิลปะร่วมสมัยที่มีมุมมองของความเป็นไทย

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

02 03 51



ไม่มีความคิดเห็น:

เกี่ยวกับฉัน