วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การให้ที่แท้จริงของศิลปะในนิยามของ “สุวิชชา ดุษฎีวนิช“

การให้ที่แท้จริงของศิลปะในนิยามของ สุวิชชา ดุษฎีวนิช

เมื่อกล่าวถึงคำว่าศิลปะสิ่งที่นึกถึงหรือภาพที่ปรากฏในใจคือสิ่งที่สวยงามหรือเป็นผลงานที่สะท้อนเรื่องราวต่างๆที่
สามารถรับรู้หรือจับต้องได้ในทางกายภาพโดยปรากฏในรูปของวัตถุซึ่งถ้าวัตถุเหล่านั้นได้เข้าไปอยู่ภายใต้หอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ก
็จะดูเหมือนเน้นย้ำความเป็นศิลปะมากยิ่งขึ้นโดยศิลปะอาจมีเนื้อหาหรือเรื่องราวที่สะท้อนถึงบริบทต่างๆของสังคมหรือ
แสดงความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคลแตกต่างออกไป

เมื่อศิลปะได้เข้ามาอยู่ในหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์แล้วศิลปะก็ย่อมเป็นผู้ส่งสารโดยสมบรูณ์แบบที่ศิลปินมอบให้แก่ผู้ชมหรือสังคม สารต่างๆเหล่านี่ที่ศิลปินได้ส่งมอบให้เก่ผู้ชมโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางหรือในที่นี้ผู้เขียนขอใช้คำว่าเครื่องมือ เครื่องมือดังกล่าวนี้จะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์หรือประเด็นต่างๆของศิลปินสู่ผู้ชม ในเมื่อศิลปะนั้นมีภาพลักษณ์เป็นผู้ให้ ก็ย่อมมีอีกมุมที่ผู้ชมกลายเป็นผู้รับเช่นกัน

จากประเด็นที่ศิลปะเป็นผู้ให้นั้น อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่าศิลปะนั้นได้ให้อะไรอย่างแท้จริง หรือเป็นเพียงการให้แบบคลุมเครือต้องอาศัยการตีความหรือต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะเพียงพอถึงรับรู้และเป็นผู้รับสารดังกล่าวได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็เป็นการให้ที่ไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เมื่อศิลปะได้กลายเป็นผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้แบบความรู้ ข้อมูลในเชิงความคิดหรือเป็นการให้ในทางกายภาพจับต้องได้ ซึ่งอาจเป็นไปในรูปแบบที่ซื่อขายโดยการครอบครองของผู้ซื่อ
แต่ถ้าศิลปะเหล่านั้นตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะต้องการให้อย่างแท้จริงโดยการให้นี้ได้ตกไปอยู่ในกระบวนการคิดตั้งแต่เริ่มแรกของผลงาน
ศิลปะซึ่งศิลปะนั้นได้เป็นแค่
เครื่องมือในการส่งผ่านกระบวนการคิดของศิลปินซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจึงเป็นหลักฐานของการตกตะกอน
ทางความคิดในรูปของวัตถุ ผลงานศิลปะแห่งการให้ที่ได้กล่าวมานี้เป็นผลงานของ สุวิชชา ดุษฎีวนิช ในครั้งนี้ สุวิชชา ได้นำเสนอผลงานศิลปะที่ไม่หลงเหลือวัตถุหรือรูปรสทางศิลปะมีเพียงแต่กลิ่นอายทางความคิดซึ่งสามารถเข้าไปกระตุ้นผู้ชมที่
ี่เข้ามาในหอศิลป์ให้เกิดคำถามมากมายว่า
ไหนละศิลปะ?”

ทั้งนี้เพราะ สุวิชชา ไม่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่พิสดารหรือทำให้ดูยิ่งใหญ่เหมือนที่เคยปรากฏในหอศิลป์ แต่เขาได้สร้างปรากฏการณ์ที่ท้าทายต่อนิยามของคำว่าคำว่าศิลปะ สุวิชชา ได้สร้างผนังหรือกำแพงของหอศิลป์ขึ้นมาใหม่ด้วยความประณีตและบรรจงและเต็มไปด้วยเสน่ห์ของกระบวนการของงานไม้ ที่แฝงไปด้วยปรัชญาแห่งในการสร้างและสามารถตอบสนองชีวิตของเขาได้เป็นอย่างดี ปรัชญาที่ว่านี้เกิดขึ้นโดยการกระทำโดยตรงของสมองสู่มือและส่งผ่านไปยังวัตถุที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งวัตถุนั้นคือแผ่นไม้ที่นำมาประกอบกันเป็นผนังที่เนียนเรียบและสะอาดตาภายใต้สภาพแวดล้อมของหอศิลป์

ภายใต้บริบทของหอศิลป์หน้าที่และความหมายของตัวมันเองคือสถานที่หรือที่อยู่ของผลงานศิลปะโดยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นกลาง ทั้งนี้ สุวิชชา มิได้สร้างอะไรที่เข้าไปแทนที่ของที่ว่างภายในหอศิลป์ แต่ สุวิชชา กลับเน้นย้ำให้ตัวพื้นที่มีความชัดเจนและสามารถตอบสนองบริบทของหอศิลป์ให้มากยิ่งขึ้นโดยการสร้างผนังสีขาว ผนังสีขาวนั้นอาจเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงของยุคศิลปะในประเทศไทยโดยการรับเข้ามาจากตะวันตก เนื่องด้วยกระแสความคิดที่ว่าผลงานศิลปะนั้นเป็นเอกเทศและต้องสมบรูณ์ที่สุดโดยปราศจากสิ่งรบกวนรอบข้าง ด้วยเหตุนี้พื้นที่แสดงผลงานศิลปะจึงเป็นพื้นที่ที่เป็นกลาง ผนังรอบด้านสีขาวเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนในการชมผลงานศิลปะ

การเน้นย้ำของ สุวิชชา ดังกล่าวนั้นเป็นการตอบสนองว่าด้วยเรื่องยุคสมัยและเป็นการตั้งคำถามของคำว่าศิลปะที่ท้าทายต่อยุคสมัยเช่นกัน การตอบสนองนั้นคือการกระทำที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของผลงานศิลปะที่เข้ามาอยู่ภายในหอศิลป์ โดยการสร้างการรับรู้อันดีระหว่างผลงานศิลปะและผู้ชม ซึ่งเกิดการราบรื่นไม่ติดขัด การรับรู้หยุดและจดจ้องไปที่ตัวผลงานปราศจากสิ่งรบกวนภายใต้ผนังห้องสีขาว ซึ่งในขณะเดียวกันการกระทำที่เขาพยายามสร้างในสิ่งที่ตัวศิลปินเองเรียกว่าศิลปะที่มีกายภายไม่แตกต่างไปจากผนังห้องทั่วๆไป ผนังห้องที่ว่านั้นแฝงไปด้วยคำถามต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับนิยามคำว่าศิลปะ ศิลปะนั้นคืออะไรคำถามนี้อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าไปชมผลงานศิลปะของ สุวิชชา ถ้าศิลปะได้มีการพัฒนาจนสลายรูปโดยไม่หลงเหลือกายภาพทางศิลปะมีเพียงแต่ความคิดที่พัฒนาจนตกตะกอน ความคิดต่างๆเหล่านั้นจะสามารถนำมาสร้างให้เป็นประโยชน์ในโลกของความจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการสร้างสรรค์ที่ผ่านมาและก็ผ่านไป

จากคำถามที่เกิดขึ้นภายในห้องสี่เหลียมสีขาวว่า ไหนละศิลปะ?” คำถามนี้ได้ตกไปอยู่ในกระบวนการคิดของผลงานศิลปะชุดนี้ ซึ่งคำถามนี้ก็อาจเป็นคำตอบของผลงานศิลปะชุดนี้ในท้ายที่สุดเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีคำตอบดังกล่าวนี้ก็มิใช่เป็นคำตอบเดียวของผลงานศิลปะของสุวิชชาซึ่งในท้ายที่สุดผลงานศิลปะเชิงความคิดชุดนี้ก็
ได้สร้างหลักฐานที่สำคัญออกมาเป็นรูปของวัตถุที่สามารถใช้งานและคงอยู่ในพื้นที่ที่เกี่ยวโยงหรือสัมพันธ์กับศิลปะโดยมิได้มีการ
แยกตัวออกจากกับหลังจบนิทรรศการ
จากคำถามที่ปรากฏในตอนแรกที่ว่าไหนละศิลปะ?”จึงทำให้เกิดกระบวนการคิดมากมาย
ต่อคำว่าศิลปะซึ่งคำตอบที่ได้ออกมานั้นอาจไม่ปรากฏในรูปลักษณ์ของผลงานศิลปะแต่ประการใดแต่ทั้งหมดนี้คือการให้ที่แท้จริง
ของศิลปะ

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

21 05 51

4 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เสน่ห์ของศิลปะ อยู่ที่มุมมอง และการสื่อสาร มุมมองของสุวิชชา เป็นมุมมองอย่างไทย ที่สามารถสื่อสารแบบสากล กล่าวคือให้ความรู้สึกร่วมสมัย
วรรณกรรม ก็คืองานศิลปะ ปรัชญาคืองานศิลปะทางความคิด
งานของสุวิชชารวมวรรณกรรม ปรัชญา และงานศิลปะเข้าไว้ด้วยกันในพื้นที่ว่างที่อัดแน่นไปด้วยความคิด ผู้อยู่เบื้องหลัง และเครื่องมือในการสร้างสรรค์
สิ่งหนึ่งที่เห็นในงานชิ้นนี้ก็คือ พรสวรรค์ด้านศิลปะทางความคิดของสุวิชชา

Have a good time กล่าวว่า...

เสน่ของงานสุวิชชาคือมุมมองและความคิดที่ถ่ายทอดลงบนชิ้นงานผ่านมือที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ ความทุ่มเทและความเพียรลงบนชิ้นงาน แต่โดยส่วนตัวแล้วยังมองว่างานของสุวิชชายังขาดบางอย่างในตัวงาน.........

วัคซีน กล่าวว่า...

เป็นเรื่องบังเอิญจริงๆที่เสิดกูเกิล ดูความจุทวิตเตอร์ของตัวเองแล้วไปเจอคนที่ใช้ชื่อในโลกออนไลน์ชื่อเดียวกับดิฉัน ก็เลยลองเปิดบล็อกดู และแล้วก็รู้สึกดีใจและก็แปลกใจมากค่ะที่ชอบศิลปะ และวรรณกรรมปรัชญาเหมือนกันจะติดตามอ่านนะคะ อืมและก็ขอฝากบล็อกของตัวเองไว้ด้วยนะคะมีความคิดเห็นอย่างไรก็ฝากให้ช่วยติเตียนบอกกล่าวได้นะคะ vaczeenmyblokg.blogspot.com
ยินดีที่ได้เจอค่ะ
วัคซีน

pissinla กล่าวว่า...

ใช่พี่สุวิชชาหรือป่าวค่ะหรือน้องชาย
ติดต่อกลับมาบ้างนะค่ะ
จิตรกรรม ม.บู

เกี่ยวกับฉัน