วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การกลับไปกลับมาของ “นาข้าว” จากเยอรมันสู่ไทย

การกลับไปกลับมาของ นาข้าวจากเยอรมันสู่ไทย

เมื่อระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน 2550 ได้มีนิทรรศการศิลปะนานาชาติ ณ. เมืองแคสเซิล ประเทศเยอรมัน ภายใต้ชื่อที่ว่า DOCUMENTA ON .12 นับเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่มีศิลปินชาวไทย (แท้ๆ)ได้รับเกรียรติเข้าร่วมแสดงผลงานใน DOCUMENTA ON .12 โดยในนิทรรศการนี้เป็นการร่วมตัวกันของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัยจากทั่วทุกมุมโลกภายใต้บริบทของศิลปะในยุคสมัยปัจจุบัน

ทั้งนี้ สาครินทร์ เครืออ่อน ซึ่งเป็นศิลปินชาวไทยได้รับเกรียรติเข้าร่วมแสดงผลงานศิลปะ ซึ่งศิลปินทั่วโลกต่างก็นำเสนอลีลาทางทัศนศิลป์โดยมีรูปแบบที่ใหม่และท้าทายต่อโลกศิลปะ สื่อหรือเครื่องมือที่ล้ำสมัยต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศเยอรมันเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำผลงานศิลปะ

แต่เป็นที่น่าแปลกใจและประหลาดใจที่ว่าศิลปินไทยหรือ สาครินทร์นั้นได้นำพาเครื่องมือในการทำผลงานศิลปะเข้ามาเพียง จอบ เสียม และพี่ๆน้องๆชาวไทยเพียง 1 กลุ่มเล็กเท่านั้น สาครินทร์มาทำอะไร และผลงานศิลปะของเข้าอยู่ที่ไหน นั้นคงเป็นคำถามซึ่งนำพาไปสู่กระบวนการที่ท้าทายต่อคำว่าศิลปะของ สาครินทร์

สาครินทร์ ได้นำโครงการนาข้าวขั้นบันไดแห่งเมืองแคสเซิล โดยเริ่มจากความหวังที่จะท้าทายต่อความเป็นไปได้ทางศิลปะ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา(ต่างถิ่น) โดยการนำข้าวมาปลูกที่ประเทศเยอรมันซึ่งมีภูมิประเทศที่มีความแตกต่างจากภูมิลำเนาบ้านเกิด การที่
สาครินทร์ ได้นำพี่ น้องชาวไทยมา
1 กลุ่มคงอาจจะไม่เพียงพอต่อพื้นที่ตั้งโครงการที่นา พื้นที่ที่เนินเขาหน้าประสาทนั้นมีบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลจนเกินกำลังที่ได้เตรียมมาจากประเทศไทย แต่ปัญหาดังกล่าวได้สร้างความน่าสนใจต่อโครงการนาข้าว คือการร่วมมือร่วมใจของบรรดาศิลปินต่างชาติที่เป็นมิตรในประเทศทางตะวันตกมาสู่นาข้าวโดยการช่วยกันทำนา จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์สิ่งใหม่ที่น่าสนใจต่อพื้นที่ พื้นที่ต่างๆได้เกิดการขบคิดและสร้างบทสนทนาอันยิ่งใหญ่ในกระบวนการทำงานศิลปะ พื้นที่บริเวณนี้ศิลปินมิใช่เพียงสร้างพื้นที่ทางศิลปะแห่งใหม่ แต่เป็นการสร้างสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์แบบอย่างโลกตะวันออกอย่างแท้จริง โดยเป็นไปในแบบเฉพาะที่เฉพาะเวลา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลงานศิลปะเฉพาะพื้นที่(Site specifice)ผลงานศิลปะดังกล่าวได้สร้างสิ่งต่างๆให้มีการคบคิดต่อพื้นที่ ปัญหาหรือกลไกลต่างๆจึงเป็นกระบวนการทางศิลปะและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โดยมิสามารถแยกออกจากผลงาน
ศิลปะที่เป็นนาข้าวขั้นบันไดของสาครินทร์ได้เลย

การกลับมาไทย (อาร์เดล แกลอรี่)

แต่ในการกลับมาของนาข้าวจากประเทศเยอรมันสู่ประเทศไทยนี้ได้มีการนำเสนอผ่านรูปแบบของการบันทึก
(
Documents) ภายใต้พื้นที่ หอศิลป์ร่วมสมัย อาร์เดล ARDEL GALLERY OF MODER ARTอาจโดยเป็นพื้นที่หอศิลป์
อย่างแท้จริงในนิทรรศการ
”Ripe Project The Village and Harvest Time” สวรรค์บ้านนาถึงเวลาต้องเก็บเกี่ยว โดยภายในหอศิลป์เป็นการนำประสบการณ์ที่ผ่านกาลเวลาที่ประเทศเยอรมันมานำเสนอสู่ภายใต้บริบทของพื้นที่
หอศิลป์ประเทศไทย

โดยทั้งนี้ความน่าสนใจในครั้งนี้ได้ตกไปอยู่ที่ความรู้สึกประหลาดใจที่มีการนำนาข้าวมาปลูก
ที่บริเวณลานหน้าหอศิลป์เพื่อที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆระหว่างภายนอก(นาข้าว)และภายใน(รูปถ่ายและข้อมูลที่บันทึก) โดยอาจอาจมองข้ามการคำนึงถึงเวลาและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นของนาข้าว ณ.ประเทศเยอรมัน โดยการเกิดขึ้นนี้บริบทของพื้นที่รองรับผลงานศิลปะที่เป็นหอศิลป์ซึ่งมีภาพลักษณ์แห่งค้าขาย(ทุนนิยม) สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในหอศิลป์แห่งนี้อาจกลบสาระสำคัญทางศิลปะกลับกลายสู่ รูปแบบที่สวยงาม หรือ
Design ที่กายภาพของหอศิลป์ได้อำนวยเป็นอย่างดี ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าหอศิลป์แห่งนี้อาจทำลายสาระของผลงานศิลปะที่เป็นไปในแบบเฉพาะที่และเฉพาะเวลา
(
Site specifice) สู่เปลือกที่เป็นเพียงแค่รูปแบบที่แบบผิดทิศผิดทางและหยุดการรับรู้ไปสู่สาระทางศิลปะ

การกลับไปกลับมาต่อรูปแบบผลงานศิลปะที่ปรากฏภายใต้พื้นที่ร่วมสมัย อาร์เดล อาจทำขึ้นเพื่อยกระดับรสนิยมของพื้นที่ให้มีระดับในวงที่กว้างออกไปให้เข้ากับกระแสโลกศิลปะ
แต่ในการยกระดับหรือเพิ่มรสนิยมนั้นควรคำนึงถึงบริบทรายรอบตนเองที่ยังคงเป็นแบบแผนประเพณี
ศิลปากรนิยม ซึ่งเป็นการดีที่จะมีการยึดจุดหมายในแนวทางผลงานที่มีความงามจิตวิญญาณและหลักหลักวิชาการที่ยังคงต้อง
สืบเนื่องไปในสังคมศิลปะในประเทศไทย

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบของการรับรู้ที่ชัดเจนต่อพื้นที่หอศิลป์โดยที่การรับรู้ผลงานภายใต้พื้นที่ดังกล่าว
จะไม่เกิดการกลับไปกลับมาทางการรับรู้ผลงานศิลปะทั้งแบบร่วมสมัยและตามขนบประเพณีถ้าในตัวพื้นที่มีความ
ชัดเจนในแนวทางผลงานที่แสดงและ
จริงใจต่อการนำเสนอผลงานศิลปะออกสู่สาธารณชน

กฤษฎา ดุษฎีวนิช

15 04 51

ไม่มีความคิดเห็น:

เกี่ยวกับฉัน